โรงเรือนพลาสติกคัดเลือกแสง
เพื่อการผลิตพืชคุณภาพ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้การทำเกษตรได้รับผลกระทบหลายด้าน
เช่น ฝนตกไม
เป็นไปตามฤดูกาล
การระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชใหม่ๆ ทำให้ผลผลิตเสียหาย ต้นทุนเพิ่มขึ้น
เกษตรกรมีความเสี่ยงในการปลูกพืช
การปลูกพืชในโรงเรือนทำให้เกษตรกรลดความเสี่ยงจากการผลิต
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
พัฒนาพลาสติกคัดเลือกแสงสำหรับคลุมโรงเรือนเพาะปลูก
พร้อมรูปแบบโรงเรือนที่ระบายอากาศได้ดีลดอุณหภูมิในโรงเรือนเหมาะสำหรับประเทศไทยที่มีอากาศร้อน
ได้ทดลองคลุมโรงเรือนพลาสติกสำหรับปลูกพืชผลเมืองหนาวของพื้นที่โครงการหลวง เช่น
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอยและสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่ และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ทาเหนือ
ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี มีการขยายผลทดลองในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ที่หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บ้านหนองมัง ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง
จังหวัดอุบลราชธานี ที่เดิมเกษตรกรปลูกผักกลางแจ้ง เช่น ผักสลัดต่างๆ
พบว่าการปลูกผักในโรงเรือนได้ผลผลิตคุณภาพดี ผักมีสีสันสวยงาม โตเร็ว
ลดระยะเวลาการปลูก เช่น ผักกาดขาว จากเดิมใช้เวลา 25-30 วัน เมื่อปลูกในโรงเรือน
เหลือเพียง 20 วัน สลัดใบแดง เดิมใช้เวลา 30 วัน เมื่อปลูกในโรงเรือน เหลือเพียง
20-25 วัน ที่สำคัญปลูกได้ตลอดปี แม้แต่ในฤดูฝน
คุณสมบัติพิเศษที่ทำให้พลาสติกคัดเลือกแสงแตกต่างจากพลาสติกคลุมโรงเรือนทั่วไป
ช่วงคลื่นแสงที่พืชใช้ได้
เป็นช่วงแสงสีน้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง (ช่วงที่ตามองเห็น)
พลาสติกคัดเลือกแสงควบคุมสัดส่วนช่วงแสงสีที่ส่องผ่านเข้าไปในโรงเรือน
เร่งการเจริญเติบโตของพืช
มีการสะสมของสารสีและสารที่มีความสำคัญต่อสุขภาพของคนในใบและผล เช่น
พริกมีสีสดและรสเผ็ดขึ้น
สตรอเบอร์รี่ที่ปลูกในโรงเรือนมีรสชาดดีขึ้น
แสงที่เป็นอันตรายต่อพืช
เช่น รังสีอัลตราไวโอเลต และ รังสีอินฟราเรดที่ปล่อยคลื่นความร้อน
พลาสติกคัดเลือกแสงตัดแสงในช่วงนี้ไม่ให้เป็นอันตรายต่อพืช ลดความร้อน
ทำให้อุณหภูมิในโรงเรือนเพาะปลูกลดลง
ลดการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช
เช่น แมลงวันทอง
เพิ่มประสิทธิภาพการกระจายแสงให้ครอบคลุมทุกจุดในโรงเรือน
ใบพืชได้รับแสงทั่วถึง สังเคราะห์แสงและสร้างอาหารได้มากขึ้น
ใช้เวลาปลูกสั้นลง
ผลผลิตสูงขึ้น พืชผัก พืชผล ขนาดเล็ก คุณภาพเพิ่มขึ้น
เมื่อเทียบกับการปลูกภายใต้โรงเรือนเพาะปลูกที่คลุมด้วยพลาสติกทั่วไป
ขอบคุณข้อมูล
ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและชุมชน สท.
สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร
(สท.)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
Post A Comment:
0 comments: