ไม้ดอกไม้ประดับ มีกี่ประเภท

Share it:
ไม้ดอกไม้ประดับมีกี่ประเภท
ไม้ดอกไม้ประดับมีกี่ประเภท
ไม้ประดับ หมายถึง พันธุ์ไม้ที่ปลูกเพื่อประโยชน์ในด้านความสวยงาม ด้วยการอาศัยความโดดเด่นของผล ดอก ใบ และลำต้น ทั้งลักษณะความสวยงาม หายาก ความเป็นสิริมงคล รวมถึงการมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนพันธุ์ไม้อื่น ในสมัย ก่อนการปลูกพันธุ์ไม้เพื่อความสวยงามมักเน้น และให้ความหมายของไม้ประดับที่พันธุ์ไม้ให้ดอก แต่ปัจจุบันการปลูกไม้ประดับเริ่มนิยมปลูกไม้ชนิดอื่น ๆที่มีลักษณะโดดเด่นใน ส่วนของใบ ลำต้น ความหายาก ความเชื่อในสิริมงคล และการมีเอกลักษณ์ของสายพันธุ์จึงมักเรียกพันธุ์ไม้ประดับว่า ไม้ดอกไม้ประดับ
ไม้ดอก ไม้ประดับแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ไม้ตัดดอก ไม้ดอก

ไม้ดอก
1. ไม้ดอก หมายถึง พันธุ์ไม้ที่ปลูกเพื่อประโยชน์ในด้านความสวยงามหรือความเป็นสิริมงคลโดยมี ลักษณะของดอกที่โดดเด่น สวยงาม และมีเอกลักษณ์ แบ่งเป็น
–        ไม้ตัดดอก หมายถึง ไม้ที่เจริญเติบโตแล้วให้ดอกเพื่อการตัดดอกมาใช้ประโยชน์
ไม้ตัดดอก
–     



 ไม้ดอก หมายถึง ไม้ที่เจริญเติบโตแล้วให้ดอกสวยงามเพื่อใช้ชมความงามของดอกที่ติดอยู่กับต้น โดยไม่มีการตัดดอก ไม้พวกนี้มักมีลักษณะก้านดอกสั้น ก้านดอกติดกับส่วนต้น ดอกมีลักษณะบอบบาง เช่น พุทธรักษา ผกากรอง เป็นต้น
ไม้ดอก 
ไม้ดอก 
ไม้ดอก
      ไม้ดอกบางชนิดจะมีกลิ่นหอมเพื่อล่อแมลงมาจับตอมสำหรับการผสมเกสร โดยส่วนมากไม้ดอกจะเป็นพืชล้มลุก และมีการเจริญเติบโตในบางช่วงฤดูกาลที่มีอุณหภูมิเหมาะสม เช่น ฤดูหนาวจะมีไม้ดอกที่ออกดอกสวยงาม ได้แก่ ทิวลิป ลิลลี่ เป็นต้น
ไม้ประดับ
2. ไม้ประดับ หมายถึง พันธุ์ไม้ที่ปลูกเพื่อประโยชน์ในการประดับสถานที่ต่างๆด้วยความสวยงามหรือ ความเป็นสิริมงคล โดยมีลักษณะเด่นทั้งใบ ดอกหรือลำต้น แบ่งเป็น
ไม้ใบประดับ หมายถึง พันธุ์ไม้ที่ปลูกเพื่อประโยชน์ในด้านความสวยงามหรือความเป็นสิริมงคล โดยมีลักษณะของใบที่โดดเด่น สวยงาม และมีเอกลักษณ์
ไม้ต้นประดับ หมายถึง พันธุ์ไม้ที่ปลูกเพื่อประโยชน์ในด้านความสวยงามหรือความเป็นสิริมงคล โดยมีลักษณะของลำต้นที่โดดเด่น สวยงาม และมีเอกลักษณ์
การเพาะขยายพันธุ์
พันธุ์ไม้ประเภทไม้ดอก ไม้ประดับนิยมเพาะขยายพันธุ์ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
1.
การเพาะเมล็ด เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการขยายพันธุ์สำหรับพรรณไม้ล้มลุก อายุไม่กี่เดือน มักเป็นไม้มีดอก เช่น ดาวเรือง ทานตะวัน เป็นต้น
2.
การแยกหน่อ แยกเหง้า เป็นวิธีที่ใช้มากสำหรับพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจำพวกพรรณไม้ประเภทใบประดับหรือต้นประดับ เช่น พลูด่าง แก้วกาญจนา เป็นต้น
3.
การปักชำ เป็นวิธีที่ใช้มากสำหรับพืชใบเลี้ยงเดี่ยวหรือใบเลี้ยงคู่ ที่มีอายุหลายปี มักเป็นพรรณไม้ประเภทใบประดับ ต้นประดับเช่นกัน
4.
การตอน เป็นวิธีที่ใช้สำหรับพรรณไม้ยืนต้น มีกิ่ง มักเป็นไม้ประดับต้นหรือไม้มีดอกสวยงาม เช่น กุหลาบ เฟื่องฟ้า เป็นต้น
การปลูกไม้ดอก และไม้ประดับ สามารถจำแนกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.
การปลูกในกระถาง
เป็นวิธีการปลูกไม้ดอก ไม้ประดับด้วยการปลูกในกระถาง ซึ่งอาจเป็นกระถางพลาสติก กระถางดินเผา กระถางไม้ หรือกระถางที่ทำจากวัสดุอื่นๆ เหมาะสมหรับไม้ดอก ไม้ประดับที่มีลำต้นขนาดเล็ก ไม่สูงมาก ทรงพุ่มไม่กว้าง ต้องการแสงน้อย เช่น กุหลาบ พลูด่าง ดาวเรือง แก้วกาญจนา เป็นต้น
ข้อดี
สามารถเคลื่อนย้ายง่าย
ตั้งประดับได้เกือบทุกสถานที่ แม้ในห้องพักหรืออาคารสูง
ข้อเสีย
ต้องทำการผสมดิน และเคลื่อนย้ายดินใส่กระถาง ซึ่งอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในค่าวัสดุ อุปกรณ์ และวัสดุดิน รวมถึงส่วนผสมของดิน
การเคลื่อนย้ายที่ไม่ระมัด ระวัง หรือการใช้กระถางที่เปราะอาจทำให้กระถางแตกง่าย
ปลูกไม้ได้เพียงไม่กี่ชนิด
2. การปลูกลงแปลงจัดสวน
เป็นวิธีการปลูกไม้ดอก ไม้ประดับลงในแปลงปลูกหรือเรียกทั่วไปว่า การจัดสวน ซึ่งจำเป็นต้องมีที่ดินหรือที่ว่างเปล่า เช่น พื้นที่หน้าบ้าน ข้างบ้านหรือหลังบ้าน เหมาะสำหรับการปลูกไม้ดอก ไม้ประดับทุกขนาดชนิดตั้งแต่เล็กจนถึงเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่
ข้อดี
สามารถปลูกไม้ได้หลายชนิดผสมกัน
เป็นระบบนิเวศที่เอื้อต่อกันของต้นไม้ ดิน น้ำ และจุลินทรีย์
ข้อเสีย
ต้องใช้พื้นที่ดินบางส่วน เหมาะสำหรับบ้านที่มีพื้นที่ว่าง
หากไม่มีการจัดการดูแล อาจเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์มีพิษ เช่น ตะขาบ งู เป็นต้น
พันธุ์ไม้ดอก ไม้ประดับ
พันธุ์ไม้ดอก ไม้ประดับบางชนิดสามารถจำแนกลักษณะ และประโยชน์ทีเด่นชัดได้ แต่บางชนิดอาจจำแนกลักษณะเด่น และประโยชน์ได้มากกว่า 2 ชนิด เช่น ลั่นทมหรือลีลาวดี อาจจัดเป็นไม้ต้นประดับหรือไม้ดอกประดับก็ได้
1.
ไม้ดอกประดับ
ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่-เล็ก
ราชพฤกษ์
เฟื่องฟ้า
แคแสด
ทองหลาง
หางนกยูง
หมันแดง
สายหยุด
พุดน้ำบุศย์
ไม้ล้มลุก
ดาวเรือง
บานไม่รู้โรย
บานเย็น
2. ไม้ใบประดับ
พลูด่าง
เขียวหมื่นปี
แก้วกาญจนา
3. ไม้ต้นประดับ
แคป่า
ต้นตีนเป็ด/พญาสัตบรรณ/สัตบรรณ
กะดังงา


Share it:

เกษตรพืช

ไม้ดอกไม้ประดับ

Post A Comment:

0 comments: