การผลิตแก๊สชีวภาพจากขี้หมู

Share it:
การผลิตแก๊สชีวภาพจากขี้หมู



วัสดุที่ใช้
1. ถังขนาด 1,000 ลิตร (ถังบรรจุสารเคมีเก่า ราคา 1,000-1,500 บาท)
2. ท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 นิ้ว
3. ถังพลาสติกสีน้ำเงิน ขนาด 200 ลิตร
4. ถังพลาสติกสีน้ำเงิน ขนาด 100 ลิตร
5. หัวเตาแก๊ส
6. กาว 2 ตัน
7. วาล์วเปิดปิด ,กิ๊บรัดท่อแก๊ส
8. ท่อแก๊ส
ขั้นตอนการผลิต

 1. ถังหมักแก๊ส
     1.1 นำถังขนาด 1,000 ลิตร มาเจาะรู 2 รู ตามขนาดของท่อพีวีซี และท่อแก๊ส
     1.2 นำท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 นิ้ว ความยาว 60 เซนติเมตร ใส่ลงใน
รูที่เจาะให้ท่อห่างจากพื้น 30-40 เซนติเมตร ใช้กาว 2 ตัน อุดรอบๆรอยเจาะเพื่อไม่ให้
อากาศออกได้(สำหรับเป็นท่อเติมเศษอาหาร มูลสัตว์)
     1.3 นำท่อแก๊สใส่รูที่เจาะ ใช้กาว 2 ตัน อุดรอบๆรอยเจาะเพื่อไม่ให้อากาศออกได้
(สำหรับให้แก๊สไหลไปยังที่พักแก๊ส)
2. ถังเก็บแก๊ส
    2.1 นำถังพลาสติกสีน้ำเงิน ขนาด 200 ลิตร เปิดฝาบรรจุน้ำเกือบเต็ม
    2.2 นำถังพลาสติกสีน้ำเงิน ขนาด 100 ลิตรเปิดฝา คว่ำลง เจาะก้นถัง 2 รู
รูแรกใส่ท่อแก๊สและต่อท่อแก๊สไปถังหมัก 1,000 ลิตร
    2.3 รูที่สองใส่ท่อแก๊สและต่อไปยังเตาแก๊สที่เตรียมไว้
    2.4 นำถังพลาสติกสีน้ำเงิน ขนาด 100 ลิตรที่เจาะรูใส่ท่อแก๊สแล้ว
คว่ำลงใส่ในถังพลาสติกสีน้ำเงิน ขนาด 200 ลิตร ตามภาพ
3. เตาแก๊ส
    3.1 ปรับแต่งหัวเตาแก๊ส โดยการใช้ตะปูตีขยายรูแก๊สออกให้กว้างขึ้น เพื่อให้แก๊ส
ไหลออกได้สะดวก เนื่องจากแก๊สชีวภาพมีแรงดันต่ำ
    3.2 ท่อแก๊ส / วาล์วเปิดปิด ที่เชื่อมตามจุดต่างๆ เช่นจากถังหมักแก๊สไปยังถังเก็บแก๊ส
หรือจากถังเก็บแก๊สไปยังหัวเตา ควรรัดกิ๊บและทากาว 2 ตัน เพื่อป้องกันการรั่วออกของแก๊ส
4. การใช้แก๊ส
    4.1 แก๊สที่ถ่ายเทมาจากถังหมักจะไหลเข้ามาที่ถังเก็บแก๊ส สังเกตได้จากถัง100 ลิตร
จะลอยขึ้นเมื่อมีแก๊ส
    4.2 การใช้แก๊ส ให้เปิดวาล์วแล้วจุดด้วยไฟ ใช้ก้อนอิฐวางกดทับถังไว้เพื่อเพิ่มแรงดันให้แก๊ส
 5. วัตถุดิบในการหมัก
     5.1 วัตถุดิบในการหมัก นั่นก็คือ ขี้หมู ขี้วัว เศษอาหารเหลือทิ้ง
     5.2 นำขี้หมู ขี้หมู ขี้วัว เศษอาหารเหลือทิ้ง ผสมน้ำแล้วเทใส่ถังหมักโดยให้อยู่
ระดับ 2 ใน 3 ส่วนของถัง หมักไว้ 10-15 วันก็จะได้แก๊ส โดยแรกๆ แก็สอาจจะ
จุดติดยากเนื่องจาก แก๊สมีส่วนผสมของอากาศปนอยู่มาก พอใช้ไปนานๆ ก็จะจุดติดได้ดีขึ้น
     5.3 เติมขี้หมู เศษอาหาร ทุกวันๆละ 2 กิโลกรัม เพื่อให้เป็นอาหารของจุลินทรีย์
จะได้มีแก๊สมากๆ (ห้ามใส่เศษอาหาร อาหารที่มีรสเปรี้ยวลงในถังหมัก)
     5.4 ถ่ายน้ำหมักออกทุก 45 วัน (นำไปพักไว้ในหลุมที่เตรียมไว้สำหรับเป็นปุ๋ย
รดผักสวนครัว หรือไม้ผลต่างๆต่อไป) 


ขอบคุณข้อมูล บ่าวยัณ สายัณ เลิศไกร


Share it:

เกษตรพลังงาน

พลังงานสัตว์

Post A Comment:

0 comments: