ความรู้เกี่ยวกับน้ำหมักชีวภาพ
และ วิธีทำน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้ในครัวเรือน
นํ้าหมักชีวภาพ คือ
น้ำหมักชีวภาพที่ได้จากการหมักเศษซากพืช ซากสัตว์ หรือสารอินทรีย์ชนิดต่างๆ
ที่หาได้ในท้องถิ่นด้วยจุลินทรีย์จำเพาะ
ซึ่งอาจหมักร่วมกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง
กระบวนการหมักของน้ำหมักชีวภาพจะเกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์
โดยใช้กากน้ำตาล และน้ำตาลจากสารอินทรีย์เป็นแหล่งพลังงาน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
1. การหมักแบบต้องการออกซิเจน
เป็นการหมักด้วยจุลินทรีย์ชนิดที่ต้องการออกซิเจนสำหรับกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์
เพื่อสร้างเป็นพลังงาน และอาหารให้แก่เซลล์
การหมักชนิดนี้จะเกิดน้อยในกระบวนการหมักน้ำหมักชีวภาพ
และมักเกิดในช่วงแรกของการหมัก แต่เมื่อออกซิเจนในน้ำ และอากาศหมด
จุลินทรีย์แบบใช้ออกซิเจนจะลดน้อยลง
และหมดไปจนเหลือเฉพาะการหมักจากจุลินทรีย์แบบไม่ใช้ออกซิเจน
2. การหมักแบบไม่ต้องการออกซิเจน
เป็นการหมักด้วยจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจนสำหรับกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์
เพื่อสร้างเป็นพลังงาน และอาหารให้แก่เซลล์
การหมักชนิดนี้จะเกิดเป็นส่วนใหญ่ในกระบวนการหมักน้ำหมักชีวภาพ ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ
คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ส่วนพวกเมอเคปเทนและก๊าซซัลไฟด์ปล่อยออกมาเล็กน้อย
ชนิดของน้ำหมักชีวภาพ
น้ำหมักชีวภาพแบ่งตามประเภทวัตถุดิบที่ใช้หมัก 3 ชนิด คือ
1. น้ำหมักชีวภาพจากพืช แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
– ชนิดที่ใช้ผัก และเศษพืช เป็นน้ำหมักที่ได้จากเศษพืช เศษผักจากแปลงเกษตรหลังการเก็บ และคัดแยกผลผลิต น้ำหมักที่ได้มีลักษณะเป็นน้ำข้นสีน้ำตาล มีกลิ่นหอม ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน กรดอะมิโน กรดแลคติค และฮอร์โมนเอนไซม์
– ชนิดที่ใช้ขยะเปียก เป็นน้ำหมักที่ได้จากขยะในครัวเรือน เช่น เศษอาหาร เศษผักผลไม้ น้ำหมักที่ได้มีลักษณะข้นสีน้ำตาลจางกว่าชนิดแรก และมีกลิ่นหอมน้อยกว่า บางครั้งอาจมีกลิ่นเหม็นบ้างเล็กน้อย ต้องใช้กากน้ำตาลเป็นส่วนผสม
น้ำหมักชีวภาพแบ่งตามประเภทวัตถุดิบที่ใช้หมัก 3 ชนิด คือ
1. น้ำหมักชีวภาพจากพืช แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
– ชนิดที่ใช้ผัก และเศษพืช เป็นน้ำหมักที่ได้จากเศษพืช เศษผักจากแปลงเกษตรหลังการเก็บ และคัดแยกผลผลิต น้ำหมักที่ได้มีลักษณะเป็นน้ำข้นสีน้ำตาล มีกลิ่นหอม ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน กรดอะมิโน กรดแลคติค และฮอร์โมนเอนไซม์
– ชนิดที่ใช้ขยะเปียก เป็นน้ำหมักที่ได้จากขยะในครัวเรือน เช่น เศษอาหาร เศษผักผลไม้ น้ำหมักที่ได้มีลักษณะข้นสีน้ำตาลจางกว่าชนิดแรก และมีกลิ่นหอมน้อยกว่า บางครั้งอาจมีกลิ่นเหม็นบ้างเล็กน้อย ต้องใช้กากน้ำตาลเป็นส่วนผสม
2. น้ำหมักชีวภาพจากสัตว์
เป็นน้ำหมักที่ได้จากเศษเนื้อต่างๆ เช่น เนื้อปลา เนื้อหอย เป็นต้น
น้ำหมักที่ได้จะมีสีน้ำตาลเข้ม มักมีกลิ่นเหม็นมากกว่าน้ำหมักที่ได้จากวัตถุหมักอื่น
ต้องใช้กากน้ำตาลเป็นส่วนผสม
3. น้ำหมักชีวภาพผสม
เป็นน้ำหมักที่ได้จาการหมักพืช และเนื้อสัตว์รวมกัน
ส่วนมากมักเป็นแหล่งที่ได้จากเศษอาหารในครัวเรือนเป็นหลัก
ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพ
1. ด้านการเกษตร
– ใช้ฉีดพ่นหรือเติมในดินหรือน้ำ ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ในดิน และน้ำ
– ใช้เติมในดิน ช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดิน ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี และช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ในดิน และน้ำ
– ช่วยเพิ่มอัตราการย่อยสลายสารอินทรีย์ในดิน และน้ำ
– ใช้รดต้นพืชหรือแช่เมล็ดพันธุ์ ท่อนพันธุ์เพื่อเร่งการเกิดราก และการเจริญเติบโตของพืช
– เป็นสารที่ทำหน้าที่เหมือนฮอร์โมนพืช กระตุ้นการเกิดราก และการเจริญเติบโต ทำให้ผลผลิต และคุณภาพสูงขึ้น
– ใช้ฉีดพ่นในแปลงเกษตร ช่วยต้านแมลงศัตรูพืช และลดจำนวนแมลงศัตรูพืช
– ใช้ฉีดพ่นในแปลงผัก ผลไม้ หรือผลผลิตต่างๆ เพื่อป้องกันการทำลายผลผลิตของแมลง
1. ด้านการเกษตร
– ใช้ฉีดพ่นหรือเติมในดินหรือน้ำ ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ในดิน และน้ำ
– ใช้เติมในดิน ช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดิน ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี และช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ในดิน และน้ำ
– ช่วยเพิ่มอัตราการย่อยสลายสารอินทรีย์ในดิน และน้ำ
– ใช้รดต้นพืชหรือแช่เมล็ดพันธุ์ ท่อนพันธุ์เพื่อเร่งการเกิดราก และการเจริญเติบโตของพืช
– เป็นสารที่ทำหน้าที่เหมือนฮอร์โมนพืช กระตุ้นการเกิดราก และการเจริญเติบโต ทำให้ผลผลิต และคุณภาพสูงขึ้น
– ใช้ฉีดพ่นในแปลงเกษตร ช่วยต้านแมลงศัตรูพืช และลดจำนวนแมลงศัตรูพืช
– ใช้ฉีดพ่นในแปลงผัก ผลไม้ หรือผลผลิตต่างๆ เพื่อป้องกันการทำลายผลผลิตของแมลง
2. ด้านปศุสัตว์
– ใช้ฉีดพ่นตามพื้นดินในฟาร์มเพื่อลดกลิ่นเหม็นของมูลสัตว์ ซากพืช ซากสัตว์ในฟาร์ม
– ใช้เติมในน้ำเสียเพื่อกำจัดน้ำเสียด้วยการเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ในการย่อยสารอินทรีย์ในน้ำเสีย
– ใช้ฉีดพ่นตามพื้นหรือตัวสัตว์เพื่อป้องกัน และลดจำนวนของจุลินทรีย์ก่อโทษ และเชื้อโรคต่างๆ
– ช่วยป้องกันแมลงวัน และการเจริญเติบโตของหนอนแมลงต่างๆ
– ใช้ผสมอาหารสัตว์จำพวกหญ้าเพื่อเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ในกระเพาะอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง
– ใช้หมักหญ้า ฟางข้าวหรือหญ้าอาหารสัตว์เพื่อให้เกิดการย่อยง่าย
– ใช้ฉีดพ่นตามพื้นดินในฟาร์มเพื่อลดกลิ่นเหม็นของมูลสัตว์ ซากพืช ซากสัตว์ในฟาร์ม
– ใช้เติมในน้ำเสียเพื่อกำจัดน้ำเสียด้วยการเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ในการย่อยสารอินทรีย์ในน้ำเสีย
– ใช้ฉีดพ่นตามพื้นหรือตัวสัตว์เพื่อป้องกัน และลดจำนวนของจุลินทรีย์ก่อโทษ และเชื้อโรคต่างๆ
– ช่วยป้องกันแมลงวัน และการเจริญเติบโตของหนอนแมลงต่างๆ
– ใช้ผสมอาหารสัตว์จำพวกหญ้าเพื่อเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ในกระเพาะอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง
– ใช้หมักหญ้า ฟางข้าวหรือหญ้าอาหารสัตว์เพื่อให้เกิดการย่อยง่าย
3. ด้านการประมง
การใช้ในด้านการประมงมักใช้น้ำหมักชีวภาพเติมในบ่อเลี้ยงปลาเพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ คือ
– เพื่อปรับความเป็นกรด-ด่าง
– เพื่อเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์สำหรับการย่อยสลายสิ่งสกปรกในบ่อปลา
– เพื่อต้าน และลดจำนวนเชื้อโรคที่ก่อโทษในสัตว์น้ำ
– เพื่อรักษาแผลของสัตว์น้ำ
– ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ ด้วยการช่วยย่อยสลายสิ่งเน่าเสียด้านล่างบ่อ
การใช้ในด้านการประมงมักใช้น้ำหมักชีวภาพเติมในบ่อเลี้ยงปลาเพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ คือ
– เพื่อปรับความเป็นกรด-ด่าง
– เพื่อเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์สำหรับการย่อยสลายสิ่งสกปรกในบ่อปลา
– เพื่อต้าน และลดจำนวนเชื้อโรคที่ก่อโทษในสัตว์น้ำ
– เพื่อรักษาแผลของสัตว์น้ำ
– ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ ด้วยการช่วยย่อยสลายสิ่งเน่าเสียด้านล่างบ่อ
4. ด้านสิ่งแวดล้อม
– ใช้เติมในระบบบำบัดน้ำเสียจากการเกษตร ปศุสัตว์ การประมง โรงงานอุตสาหกรรม และชุมชน
– ใช้เติมในบ่อขยะ ช่วยย่อยสลายขยะ และกำจัดกลิ่นเหม็น
– ใช้ปรับสภาพของเสียจากครัวเรือนก้่อนนำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตร
– ใช้เติมในระบบบำบัดน้ำเสียจากการเกษตร ปศุสัตว์ การประมง โรงงานอุตสาหกรรม และชุมชน
– ใช้เติมในบ่อขยะ ช่วยย่อยสลายขยะ และกำจัดกลิ่นเหม็น
– ใช้ปรับสภาพของเสียจากครัวเรือนก้่อนนำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตร
ประโยชน์น้ำหมักชีวภาพในทางเกษตร
⇒ ข้าว
1. การแช่เมล็ดพันธุ์ข้าว
อัตราการใช้ : น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร/น้ำ 30 ลิตร/เมล็ดข้าว 20 กิโลกรัม
วิธีใช้: แช่เมล็ดข้าว 1-2 วัน ก่อนหว่านเมล็ด
⇒ ข้าว
1. การแช่เมล็ดพันธุ์ข้าว
อัตราการใช้ : น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร/น้ำ 30 ลิตร/เมล็ดข้าว 20 กิโลกรัม
วิธีใช้: แช่เมล็ดข้าว 1-2 วัน ก่อนหว่านเมล็ด
2. ช่วงเตรียมดิน
อัตราการใช้ : น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร/น้ำ 40 ลิตร/ไร่
วิธีใช้: เจือจางน้ำหมักด้วยน้ำในอัตราส่วนข้างต้น และฉีดพ่นดินก่อนการไถพรวนดินหรือไถกลบซังข้าว
อัตราการใช้ : น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร/น้ำ 40 ลิตร/ไร่
วิธีใช้: เจือจางน้ำหมักด้วยน้ำในอัตราส่วนข้างต้น และฉีดพ่นดินก่อนการไถพรวนดินหรือไถกลบซังข้าว
3. ช่วงการเจริญเติบโต
อัตราการใช้ : น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร/น้ำ 50 ลิตร/ไร่
วิธีใช้: เจือจางน้ำหมักด้วยน้ำในอัตราส่วนข้างต้น แล้วฉีดพ่นต้นพืช
อัตราการใช้ : น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร/น้ำ 50 ลิตร/ไร่
วิธีใช้: เจือจางน้ำหมักด้วยน้ำในอัตราส่วนข้างต้น แล้วฉีดพ่นต้นพืช
⇒ พืชไร่
1. ช่วงเตรียมดิน
อัตราการใช้ : น้ำหมักชีวภาพ 5 ลิตร/น้ำ 20 ลิตร/ไร่
วิธีใช้: เจือจางน้ำหมักด้วยน้ำในอัตราส่วนข้างต้น และฉีดพ่นดินก่อนการไถพรวนดินหรือไถกลบซังข้าว
1. ช่วงเตรียมดิน
อัตราการใช้ : น้ำหมักชีวภาพ 5 ลิตร/น้ำ 20 ลิตร/ไร่
วิธีใช้: เจือจางน้ำหมักด้วยน้ำในอัตราส่วนข้างต้น และฉีดพ่นดินก่อนการไถพรวนดินหรือไถกลบซังข้าว
2. การแช่ท่อนพันธุ์อ้อย
และมันสำปะหลัง
อัตราการใช้ : น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร/น้ำ 100 ลิตร
วิธีใช้: เจือจางน้ำหมักด้วยน้ำในอัตราข้างต้น พร้อมนำท่อนพันธุ์ แช่นาน 20-30 นาที ก่อนปลูก
อัตราการใช้ : น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร/น้ำ 100 ลิตร
วิธีใช้: เจือจางน้ำหมักด้วยน้ำในอัตราข้างต้น พร้อมนำท่อนพันธุ์ แช่นาน 20-30 นาที ก่อนปลูก
3. ช่วงการเจริญเติบโต
อัตราการใช้ : น้ำหมักชีวภาพ 0.5-1 ลิตร/น้ำ 20 ลิตร/ไร่
วิธีใช้: ฉีดพ่นบนต้นพืชทั้งระยะแตกกิ่ง แตกใบ ออกดอก และติดผล
อัตราการใช้ : น้ำหมักชีวภาพ 0.5-1 ลิตร/น้ำ 20 ลิตร/ไร่
วิธีใช้: ฉีดพ่นบนต้นพืชทั้งระยะแตกกิ่ง แตกใบ ออกดอก และติดผล
⇒ พืชผัก
และไม้ดอก
อัตราการใช้ : น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร/น้ำ 50 ลิตร/ไร่
วิธีใช้: เจือจางน้ำหมัก และฉีดพ่นบนต้นพืชในทุกระยะ
อัตราการใช้ : น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร/น้ำ 50 ลิตร/ไร่
วิธีใช้: เจือจางน้ำหมัก และฉีดพ่นบนต้นพืชในทุกระยะ
⇒ ไม้ผล
อัตราการใช้ : น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร/น้ำ 50 ลิตร/ไร่
วิธีใช้: เจือจางน้ำหมัก และฉีดพ่นบนต้นพืชในทุกระยะ โดยเฉพาช่วงออกดอก และติดผล
อัตราการใช้ : น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร/น้ำ 50 ลิตร/ไร่
วิธีใช้: เจือจางน้ำหมัก และฉีดพ่นบนต้นพืชในทุกระยะ โดยเฉพาช่วงออกดอก และติดผล
⇒ บ่อกุ้งหรือบ่อปลา
อัตราการใช้ : น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร/น้ำ 1 คิว
วิธีใช้: เติมน้ำหมักลงบ่อเลี้ยงทุกๆ 1 เดือน
อัตราการใช้ : น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร/น้ำ 1 คิว
วิธีใช้: เติมน้ำหมักลงบ่อเลี้ยงทุกๆ 1 เดือน
⇒ คอกเลี้ยงสัตว์
อัตราการใช้ : น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร/น้ำ 40 ลิตร/พื้นที่ 100 ตารางเมตร
วิธีใช้: เจือจางด้วยน้ำ และฉีดพ่นบนลานหรือคอกสัตว์ บนตัวสัตว์ ทุกๆ 1-3 เดือน
อัตราการใช้ : น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร/น้ำ 40 ลิตร/พื้นที่ 100 ตารางเมตร
วิธีใช้: เจือจางด้วยน้ำ และฉีดพ่นบนลานหรือคอกสัตว์ บนตัวสัตว์ ทุกๆ 1-3 เดือน
⇒ การป้องกันโรค
และแมลงศัตรูพืช
อัตราการใช้ : น้ำหมักชีวภาพ 5 ลิตร/น้ำ 50 ลิตร/ไร่
วิธีใช้: เจือจางด้วยน้ำ และฉีดพ่นในแปลงเกษตรทุกๆ 1 เดือน
อัตราการใช้ : น้ำหมักชีวภาพ 5 ลิตร/น้ำ 50 ลิตร/ไร่
วิธีใช้: เจือจางด้วยน้ำ และฉีดพ่นในแปลงเกษตรทุกๆ 1 เดือน
หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ
หัวเชื้อสำหรับเติมในน้ำหมักชีวภาพ ได้แก่ สารเร่ง พด. 2 และพด.6 พัฒนาโดยกรมพัฒนาที่ดิน มีลักษณะที่แตกต่างกัน สารเร่งพด.2 ใช้ในการหมักน้ำหมักชีวภาพสำหรับรดดิน และต้นพืช ส่วนสารเร่งพด. 6 ใช้สำหรับหมักน้ำหมักชีวภาพสำหรับใช้เพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ในดิน และน้ำเสีย ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 3 สายพันธุ์ ดังนี้
1. ยีสต์ผลิตแอลกอฮอล์ กรดอินทรีย์ และวิตามินบี Saccharomyces sp.
2. แบคทีเรียผลิตกรดแลคติก Lactobacillus sp.
3. แบคทีเรียย่อยสลายโปรตีน Bacillus sp.
หัวเชื้อสำหรับเติมในน้ำหมักชีวภาพ ได้แก่ สารเร่ง พด. 2 และพด.6 พัฒนาโดยกรมพัฒนาที่ดิน มีลักษณะที่แตกต่างกัน สารเร่งพด.2 ใช้ในการหมักน้ำหมักชีวภาพสำหรับรดดิน และต้นพืช ส่วนสารเร่งพด. 6 ใช้สำหรับหมักน้ำหมักชีวภาพสำหรับใช้เพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ในดิน และน้ำเสีย ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 3 สายพันธุ์ ดังนี้
1. ยีสต์ผลิตแอลกอฮอล์ กรดอินทรีย์ และวิตามินบี Saccharomyces sp.
2. แบคทีเรียผลิตกรดแลคติก Lactobacillus sp.
3. แบคทีเรียย่อยสลายโปรตีน Bacillus sp.
วิธีทำน้ำหมักชีวภาพ
การทำน้ำหมักชีวภาพจะเลือกใช้วัสดุใดในการหมักนั้น
ควรเลือกใช้วัสดุหมักที่สามารถหาได้ง่ายในครัวเรือน
แปลงเกษตรของตนเองหรือหาได้ง่ายในท้องถิ่น ส่วนหัวเชื้อสามารถเลือกใช้สารเร่งพด.2
หรือ พด.6 ตามวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้เป็นหลัก
• น้ำหมักชีวภาพ สูตร 1
หมักจากผักและผลไม้ จำนวน 50 ลิตร (หมัก 7 วัน)
– ผัก หรือผลไม้ 4 ส่วน ได้แก่ 40 กิโลกรัม
– กากน้ำตาล 1 ส่วน ได้แก่ 10 ลิตร
– น้ำ 1 ส่วน ได้แก่ 10 ลิตร
– สารเร่ง พด.2 จำนวน 1 ซอง (25 กรัม) ใช้หมักได้ 50 ลิตร
หมักจากผักและผลไม้ จำนวน 50 ลิตร (หมัก 7 วัน)
– ผัก หรือผลไม้ 4 ส่วน ได้แก่ 40 กิโลกรัม
– กากน้ำตาล 1 ส่วน ได้แก่ 10 ลิตร
– น้ำ 1 ส่วน ได้แก่ 10 ลิตร
– สารเร่ง พด.2 จำนวน 1 ซอง (25 กรัม) ใช้หมักได้ 50 ลิตร
• น้ำหมักชีวภาพ สูตร 2
หมักจากปลาหรือหอยเชอรี่ จำนวน 50 ลิตร (หมัก 21 วัน)
– ปลา 3 ส่วน
– กากน้ำตาล 1 ส่วน
– ผลไม้ 1 ส่วน
– น้ำ 1 ส่วน
– สารเร่ง พด.6 หรือ พด.2 จำนวน 1 ซอง (25 กรัม)
หมักจากปลาหรือหอยเชอรี่ จำนวน 50 ลิตร (หมัก 21 วัน)
– ปลา 3 ส่วน
– กากน้ำตาล 1 ส่วน
– ผลไม้ 1 ส่วน
– น้ำ 1 ส่วน
– สารเร่ง พด.6 หรือ พด.2 จำนวน 1 ซอง (25 กรัม)
การใช้กากน้ำตาลเป็นส่วนผสมในตัวหมักจะทำให้ได้น้ำหมักที่มีสีน้ำตาลเข้ม
แต่หากหมักด้วยอินทรีย์วัตถุเพียงอย่างเดียวจะได้น้ำหมักเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือตามสีของวัตถุที่เติมลงหมัก
น้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารในครัวเรือน
เศษอาหารในครัวเรือนมักมีข้อจำกัด คือ เน่าง่าย และมีกลิ่นเหม็น และเกิดในปริมาณน้อยในแต่ละวัน จึงเป็นปัญหาในการรวบรวม
เศษอาหารในครัวเรือนมักมีข้อจำกัด คือ เน่าง่าย และมีกลิ่นเหม็น และเกิดในปริมาณน้อยในแต่ละวัน จึงเป็นปัญหาในการรวบรวม
น้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารที่เกิดขึ้นน้อย
ทำได้โดยเตรียมชุดน้ำหมักข้างต้น (น้ำ+สารเร่ง+กากน้ำตาล) ในถังให้พร้อมก่อน
หลังจากนั้น จึงเทเศษอาหารลงในแต่ละวันที่เกิดขึ้น อาจเทได้ประมาณ 7-15 วัน ขึ้นอยู่กับขนาดถังที่เตรียม
และต้องเตรียมชุดน้ำหมักเพียงค่อนถังหรือครึ่งถัง
ปริมาณธาตุอาหารในน้ำหมักน้ำชีวภาพ ที่วัสดุหมัก : กากน้ำตาล (3 : 1)
1. ปลาหมัก : pH 3.2-3.9, ไนโตรเจน 0.4-1.10%, ฟอสฟอรัส 0.0-3.94%, โพแทสเซียม 0.09-0.86%, แคลเซียม 0.014-0.51%
2. หอยเชอรี่ : pH 4.5-6.3, ไนโตรเจน 0.6-1.58%, ฟอสฟอรัส 0.0-0.06%, โพแทสเซียม 0.16-4.90%, แคลเซียม 0.08-0.15%, แมกนีเซียม 0.27%
3. เศษพืชผัก?: pH 3.8-3.9, ไนโตรเจน 0.27-0.40%, ฟอสฟอรัส 0.14-0.15%, โพแทสเซียม 0.35-1.44%, แคลเซียม 0.41-0.43%, แมกนีเซียม 0.15%
4. เศษผักผลไม้ : pH 3.4-3.8, ไนโตรเจน 0.20-0.33%, ฟอสฟอรัส 0.0-0.26%, โพแทสเซียม0.6-0.88%, แคลเซียม 0.19-0.67%, แมกนีเซียม 0.11%
1. ปลาหมัก : pH 3.2-3.9, ไนโตรเจน 0.4-1.10%, ฟอสฟอรัส 0.0-3.94%, โพแทสเซียม 0.09-0.86%, แคลเซียม 0.014-0.51%
2. หอยเชอรี่ : pH 4.5-6.3, ไนโตรเจน 0.6-1.58%, ฟอสฟอรัส 0.0-0.06%, โพแทสเซียม 0.16-4.90%, แคลเซียม 0.08-0.15%, แมกนีเซียม 0.27%
3. เศษพืชผัก?: pH 3.8-3.9, ไนโตรเจน 0.27-0.40%, ฟอสฟอรัส 0.14-0.15%, โพแทสเซียม 0.35-1.44%, แคลเซียม 0.41-0.43%, แมกนีเซียม 0.15%
4. เศษผักผลไม้ : pH 3.4-3.8, ไนโตรเจน 0.20-0.33%, ฟอสฟอรัส 0.0-0.26%, โพแทสเซียม0.6-0.88%, แคลเซียม 0.19-0.67%, แมกนีเซียม 0.11%
อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio)
คาร์บอน และไนโตรเจนที่มีอยู่ในวัสดุหมักถือเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของจุลินทรีย์ โดยคาร์บอนจะเป็นแหล่งให้พลังงาน ส่วนไนโตรเจนใช้สำหรับกระบวนสร้างเซลล์ และสังเคราะห์โปรโตพลาสซึมของเซลล์ ดังนั้น อัตราส่วนของคาร์บอน และไนโตรเจนจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการเติบโตของจุลินทรีย์
คาร์บอน และไนโตรเจนที่มีอยู่ในวัสดุหมักถือเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของจุลินทรีย์ โดยคาร์บอนจะเป็นแหล่งให้พลังงาน ส่วนไนโตรเจนใช้สำหรับกระบวนสร้างเซลล์ และสังเคราะห์โปรโตพลาสซึมของเซลล์ ดังนั้น อัตราส่วนของคาร์บอน และไนโตรเจนจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการเติบโตของจุลินทรีย์
ไนโตรเจนในวัสดุหมักจะถูกเปลี่ยนเป็นแอมโมเนีย
หากมีปริมาณแอมโมเนียมากจะมีความเป็นพิษต่อจุลินทรีย์
หากสัดส่วนคาร์บอนสูงกว่าไนโตรเจนมากจะทำให้กระบวนการย่อยสลายจุลินทรีย์ช้าลง ซึ่ง
C/N ratio ที่เหมาะสมต่อการหมักจะอยู่ระหว่าง 20-40
ค่า C/N
ratio สามารถหาได้จากปริมาณคาร์บอน (C) และไนโตรเจน
(N) ของวัสดุหมักนั้นๆ ค่าเหล่านี้สามารถค้นหาได้จากตำราต่างๆ
ทั้งในห้องสมุดสถานศึกษา และทางอินเตอร์เน็ต
การคำนวณหา C/N ratio ทั้งหมด
เพื่อให้ทราบว่ามีค่าเหมาะสมหรือไม่ จะใช้การคำนวณ ดังนี้
ชนิดวัสดุที่ 1 : เศษผัก 60.00 % ของวัสดุทั้งหมด มีค่า C/N ของวัสดุ = 20 : 1
ชนิดวัสดุที่ 2 : มูลสัตว์ 20.00 % ของวัสดุทั้งหมด ค่า C/N ของวัสดุ = 25 : 1
ชนิดวัสดุที่ 3 : ใบไม้แห้ง 20.00 % ของวัสดุทั้งหมด ค่า C/N ของวัสดุ = 50 : 1
ชนิดวัสดุที่ 1 : เศษผัก 60.00 % ของวัสดุทั้งหมด มีค่า C/N ของวัสดุ = 20 : 1
ชนิดวัสดุที่ 2 : มูลสัตว์ 20.00 % ของวัสดุทั้งหมด ค่า C/N ของวัสดุ = 25 : 1
ชนิดวัสดุที่ 3 : ใบไม้แห้ง 20.00 % ของวัสดุทั้งหมด ค่า C/N ของวัสดุ = 50 : 1
ค่า C/N ทั้งหมดของปุ๋ยหมักเท่ากับ
C = (60.00 x 20) + (20.00 x 25) + (20.00 x 50)
************100 100 100
= 12.00 + 5 + 10
= 27.00
C = (60.00 x 20) + (20.00 x 25) + (20.00 x 50)
************100 100 100
= 12.00 + 5 + 10
= 27.00
ดังนั้น ค่า C/N จึงเท่ากับ 27.00: 1 ซึ่งมีค่ายังไม่สูงพอ
จึงควรเพิ่มปริมาณวัสดุหมักให้เพิ่มขึ้นหรือเลือกวัสดุหมักที่มีคาร์บอนมากขึ้น
ลักษณะกายภาพระหว่างการหมัก
1. หากมีการเจริญเติบโต และเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ สามารถสังเกตได้จากเกิดฝ้าขาวหรือโคโลนี และมีปริมาณเพิ่มขึ้นบริเวณผิวหน้าของถังหมัก
2. เกิดฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
3. มีกลิ่นฉุนของแอลกอฮอล์
4. หากนำสารละลายมาแตะลิ้นจะมีรสเปรี้ยวจากกรดแลคติก
5. สารละลายมีลักษณะน้ำตาลใส ไม่ขุ่นดำ และมีกลิ่นหอม
1. หากมีการเจริญเติบโต และเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ สามารถสังเกตได้จากเกิดฝ้าขาวหรือโคโลนี และมีปริมาณเพิ่มขึ้นบริเวณผิวหน้าของถังหมัก
2. เกิดฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
3. มีกลิ่นฉุนของแอลกอฮอล์
4. หากนำสารละลายมาแตะลิ้นจะมีรสเปรี้ยวจากกรดแลคติก
5. สารละลายมีลักษณะน้ำตาลใส ไม่ขุ่นดำ และมีกลิ่นหอม
ลักษณะน้ำหมักชีวภาพที่หมักสมบูรณ์
1. น้ำหมักชีวภาพมีลักษณะสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้มใส ไม่ขุ่นดำ น้ำหมักจะอยู่ส่วนบน ส่วนกากจะตกลงด้านล่าง
1. น้ำหมักชีวภาพมีลักษณะสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้มใส ไม่ขุ่นดำ น้ำหมักจะอยู่ส่วนบน ส่วนกากจะตกลงด้านล่าง
2. น้ำหมักชีวภาพไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า
แต่จะมีกลิ่นหอมเหมือนเหล้าหมักหรือมีกลิ่นของกากน้ำตาล
และกลิ่นเหม็นเปรี้ยว
3. น้ำหมักชีวภาพจะต้องมีฟองก๊าซหรือไม่มีฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หากเกิดการหมักวัสดุจนหมดแล้ว
4. น้ำหมักชีวภาพจะมีค่าความเป็นกรด-ด่าง ประมาณ 3-4
และกลิ่นเหม็นเปรี้ยว
3. น้ำหมักชีวภาพจะต้องมีฟองก๊าซหรือไม่มีฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หากเกิดการหมักวัสดุจนหมดแล้ว
4. น้ำหมักชีวภาพจะมีค่าความเป็นกรด-ด่าง ประมาณ 3-4
คุณสมบัติของน้ำหมักชีวภาพ
1. ประกอบด้วยฮอร์โมนที่นำมาใช้ต่อการเติบโตของพืชหลายชนิด เช่น ออกซิน ไซโตตไคนิน และจิบเบอร์เรลลิน
2. กรดอินทรีย์ชนิดต่างๆ เช่น กรดอะซีติก กรดแลคติก กรดอะมิโน และกรดฮิวมิก
3. มีวิตามินบี วิตามินซี วิตามินเอ และอื่นๆ ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุหมัก
4. มีความเป็นกรดที่ pH ประมาณ 3-4
1. ประกอบด้วยฮอร์โมนที่นำมาใช้ต่อการเติบโตของพืชหลายชนิด เช่น ออกซิน ไซโตตไคนิน และจิบเบอร์เรลลิน
2. กรดอินทรีย์ชนิดต่างๆ เช่น กรดอะซีติก กรดแลคติก กรดอะมิโน และกรดฮิวมิก
3. มีวิตามินบี วิตามินซี วิตามินเอ และอื่นๆ ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุหมัก
4. มีความเป็นกรดที่ pH ประมาณ 3-4
Post A Comment:
0 comments: