ตอนที่
2
เครื่องมือปลูกข้าว
เครื่องมือปลูกข้าว
- เครื่องดำนา
การปักดำเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้แรงงานมาก
ดังนั้นสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม จึงได้นำต้นแบบเครื่องดำนาแบบต่าง ๆ
จากประเทศมาทดสอบและปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทั่ว ๆ ไป ในประเทศ
เครื่องดำนาที่นำมามีทั้งแบบใช้แรงคนและเครื่องยนต์เป็นต้นกำลัง
สำหรับเครื่องดำนาแบบใช้แรงคนปักดำครั้งละ 4-5 แถว ระยะแถว 30 เซนติเมตร
มีขีดความสามารถในการทำงาน 1.5 ไร่ต่อวัน / คน
สำหรับเครื่องดำนาแบบใช้เครื่องยนต์เบนซินขนาด 3 แรงม้า ปักดำครั้งละ 4
แถวระยะแถว 30 เซนติเมตร ใช้กล้าแบบเพาะในกระบะเป็นแผ่น
ความสามารถในการทำงาน 6 ไร่ต่อวัน ข้อจำกัดของเครื่องดำนาทั้งสองแบบคือต้องมีการควบคุมระดับน้ำในแปลงนา
และการเตรียมกล้าโดยการเพาะในถาด สำหรับเครื่องปักดำทั้งสองแบบจะเห็นว่ายุ่งยาก
และมีราคาแพงจึงไม่ได้รับความนิยมจากเกษตรกร
สำหรับหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ผลิตเมล็ดพันธุ์จำหน่ายแก่เกษตรกร
เช่นศูนย์ขยายพันธุ์พืช หรือสถาบันวิจัยข้าวให้ความสนใจเครื่องปักดำแบบใช้เครื่องยนต์เพราะนอกจากใช้ลดแรงงาน
คนแล้วการปักดำยังช่วยให้การคัดแยกพันธุ์ปลอมปนออกได้ง่าย
คุณลักษณะ
ต้นกำลัง เครื่องพ่นสารเคมีแบบติดเครื่องยนต์
อัตราการทำงาน 5-8 ไร่/ชั่วโมง
ความสามารถ หว่านข้าว (ข้าวแห้งและข้าวงอก) ปุ๋ยเม็ด
และสามารถใช้พ่นสารเคมีได้ตามปกติ
ข้อจำกัด ไม่ควรใช้กับข้าวที่สกปรก
หรือข้าวที่มีรากยาวเกิน 3-5 ซ.ม.
- เครื่องดำนานั่งขับ
จากเครื่องดำนาแบบเดินตามข้างต้น
ได้มีการขยายตัวการใช้เครื่องจักรกลมากขึ้นโดยปัจจุบันมีการนำเข้าเครื่องดำนาแบบนั่งขับดังกล่าวสามารถดำนาได้ครั้งละ 6
แถว แต่ละแถวห่างกัน 30 เซนติเมตร มีขีดความสามารถในการทำงาน 15 ไร่/วัน
โดยใช้กล้าแบบเพาะในกะบะเป็นแผ่นเช่นเดียวกันกับเครื่องดำนาแบบเดินตาม
จากความยุ่งยากในการเตรียมกล้าแผ่นซึ่งมีเกษตรกรรับจ้างดำนา
โดยต้นกล้าเป็นของผู้รับจ้างข้อดีของเครื่องดำนาเป็นแถวนี้
นอกจากจะดูแลง่ายแล้วยังสามารถถอนแยกพันธุ์ปลอมปนออกได้ง่ายอีกด้วย
- เครื่องหยอดข้าวแห้ง
สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม
ได้ร่วมมือกับโรงงานผลิตเครื่องหยอดเมล็ดเอกชน
และเครื่องหยอดข้าวแห้งแบบโรยเป็นแถวแบบ 7
แถว และ 11 แถว เพื่อใช้ทดแทนการปลูกข้าวแบบการหว่านสำรวยการปลูกข้าวโดยใช้เครื่องหยอดข้าว
ทำให้การเจริญเติบโตของข้าวเป็นแถว สะดวกในการควบคุมศัตรูพืชและการเก็บเกี่ยว
ข้าวที่ปลูกด้วยเครื่องหยอดจะทนต่อความแห้งแล้งได้ดีกว่าการปลูกโดยวิธีหว่าน
เนื่องจาก เครื่องหยอดเมล็ดข้าวจะมีตัวเปิดร่องทำให้เมล็ดลงในร่องดินรากข้าว
ซึ่งจะรับความชื้นในดินมากกว่าวิธีหว่านเมล็ดจะอยู่บนผิวดินที่มีความชื้นน้อยกว่า
ความสามารถของเครื่องหยอดข้าวแห้งประมาณวันละ 30 – 40 ไร่
- เครื่องปลูกข้าว 4
แถวแบบไม่เตรียมดินใช้ไถเดินตาม
การปลูกข้าวแบบหยอดเป็นแถวโดยไม่เตรียมดิน
เหมาะกับสภาวะอากาศแห้งแล้ง
จะได้ผลผลิตต่ำสำหรับการปลูกข้าวโดยการเปิดหน้าดินให้เป็นร่องแล้วโรยเมล็ดข้าวจะทำให้การเจริญเติบโตของต้นข้าวทนความแห้งแล้งได้ดี
เพราะรากของต้นข้าวดูดความชื้นได้ลึกกว่า นอกจากนั้นหน้าดินส่วนที่ไม่มีการไถพรวนจะมีเศษวัชพืชหรือ
ตอซังปกคลุมอยู่ช่วยลดการระเหยของน้ำจากดิน
สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรมได้ออกแบบพัฒนาเครื่องปลูกข้าว 4 แถวแบบไม่เตรียมดิน
โดยตัวเปิดร่องเป็นแบบจานเดี่ยวระยะห่างระหว่างแถว 30 เซนติเมตร
ใช้เมล็ดพันธุ์ 9.5 กิโลกรัมต่อไร่ และใช้รถไถ 2 ล้อเป็นต้นกำลังในการฉุดลาก
ความสามารถในการทำงาน 1.2 ไร่ต่อชั่วโมง
ขอบคุณขอมูล สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว
กรมการข้าว
Post A Comment:
0 comments: