กุ้งเครย์ฟิชสายพันธ์ P 2. Astacoidea(สาย P)
: เป็นวงศใหญ่ที่มีถิ่นกำเนิดทาง
ของทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป มีกว่า 440 สปีชีส์
มีวงศ์ย่อยอีกสองวงศ์คือ
1.1 Astacidae และ
1.2 Cambaridae ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะ
วงศ์ Cambaridae ซึ่งเป็นที่นิยมในบ้านเราคือ
1.2.1
Procambarus และ
1.2.2 Cambarus
1.2.1 Procambarus : ซึ่งเป็นที่มาของการเรียกว่า
สาย P เครย์ฟิชสายนี้ในบ้านเราจะนำเข้ามาจากประเทศฮ่องกง
ซึ่งเป็นผู้ส่งเครย์ฟิชหลักเข้ามาในบ้านเรา และ Procambarus clarkii
ซึ่งเป็นที่นิยมในบ้านเราเป็นอย่างมาก
และในบ้านเราสามารถเพราะเองได้แล้วในบางสายพันธุ์ เช่น โกสต์ , เคลียร์ ซึ่งกำลังเป็นกรแสแรงมากในขณะนี้(ปี 2016)
Procambarus clarkii ราคาสามารถจับต้องได้ ปัจจุบัน
มีราคาตั้งแต่หลักสิบ ถึง 6 -7 พันบาท
ขึ้นกับผลผลิตในท้องตลาด , ขนาด , และลวดลาย
Procambarus allenii(Florida Lobster)
ก่อนหน้านี้ allenii
ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
แต่เนื่องด้วยตามท้องตลาดมีผลผลิตออกมาเยอะ จึงทำให้ความนิยม ลดลง
แต่ก็ยังถือได้ว่าเป็นเครย์ฟิชที่มีความสวยงามอยู่ในตัว
และสีที่สวยงามไม่แพ้สายพันธุ์อื่นเช่นกัน
มีถิ่นกำเนิด
ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่รัฐฟลอริดา ที่พบตามแหล่งน้ำธรรมชาติจะมีสีน้ำตาล
และในบางครั้งพบจุดสีเข้มด้านบนของลำตัว และมีจุดจางๆในส่วนล่าง
มีหนามบนก้ามจุดออกสีเหลือง มีก้ามออกสีฟ้า
ในบ้านเราถ้าเลี้ยงในตู้จะมีสีสันที่สวยคือ จะออกเป็นสีฟ้าทั้งตัวได้อย่างสวยงาม
มีขนาดเมื่อโตเต็มวัยเพศผู้มีขนาด
2.3" และขนาด 2.75" ในเพศเมีย อาศัยในแหล่งที่มีที่ค่า ph ที่แตกต่างกันได้ดี
สามารถทนต่อสภาพน้ำ และปรับตัวได้เป็นอย่างดี พบได้ยากตามแหล่งน้ำธรรมชาติ
และสามารถผสมพันธุ์ได้ง่าย มีอุปนิสัย เป็นสัตว์ที่กินไม่เลือก
และกินพืชในตู้เลี้ยง ควรมีสถานะที่ในการเลี้ยงที่เพียงพอ
ตามแหล่งน้ำธรรมจะเป็นสีน้ำตาล และจะเริ่มมีสีน้ำเงินอ่อนๆ ในลูกรุ่น F1
อาศัยในอุณหภูมิที่
20- 27 C และจะขุดรูเมื่อระดับน้ำลดลง
จำนวนของไข่ที่ได้ประมาณ
100- 150 ฟอง ขึ้นกับขนาดของตัวเมีย
และสามารถให้ไข่ได้ถึง 300 ฟองในเพศเมียที่โตเต็มวัย
Procambarus acanthophorus
มีถื่นกำเนิด
ประเทศเม็กซิโก ขนาดเมื่อโตเต็มวัย มีขนาดประมาณ 10cm และกุ้งชนิดนี้จะมีขนที่ก้าม
เครย์ฟิช 1 คู่ ควรเลี้ยงด้วยตู้ที่มีขนาดตั้งแต่ 24
นิ้วขึ้นไป ควรหาที่หลบซ่อน ให้กุ้งเครย์ฟิช
เพื่อช่วยเป็นที่หลบซ่อนในขณะที่ ลอกคราบ
และสายพันธุ์นี้ไม่ทนต่อสภาพน้ำที่สกปรกสักเท่าไหร่ มีอุปนิสัย
เช่นเดียวกับ Procambarus allenii การดูเพศตามปกติ
(ตัวเมียจะมีก้ามยาวกว่า มีหางที่กว้าง , และจะมี จีโนพอตส์
ที่ตัวผู้) และ พบได้ยาก ตามแหล่งธรรมชาติ
Procambarus clarkii
Clarkii สามารถพบได้ในประเทศสหรัฐอเมริกาและ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เม็กซิโก และยังได้มีการนำไปเลี้ยงที่ฮาวาย
และประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย
ซึ่งหลายๆครั้ง clarkii
ตัวที่มีสีแดง ในบ้านเราจะเรียกว่า
"เรดเจแปน" เครย์ฟิชย์สายพันธุ์นี้ถือได้ว่าเป็นกุ้งสายพี
ที่มีการเลี้ยงเยอะมากที่สุดในไทย
เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่ทนต่อสภาพน้ำ
อากาศ อุณหภูมิในบ้านเราได้เป็นอย่างดี
ซึ่งก็มีขายตามท้องตลาดทั่วไปในบ้านเราเรียกว่า "กุ้งสี" หรือ
"กุ้งสายพี" ซึ่งมีทั้งสีฟ้า จะเรียกว่า บลูสพ็อต
สีขาวเรียกว่า สไนว์ สีส้ม เรียกว่า ไบร์สออเร้นท์
เรียกไปตามสี ซึ่งในแต่ละสีสามารถผสมพันธุ์กันได้
ซึ่งก็จะให้สีที่แตกต่างกันออกไป ในบางครั้งอาจมีสี ส้มอ่อนๆ
เรียกว่า สีพรีช แต่สีนี้หาได้ยาก
สายพันธุ์นี้เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นที่จะเริ่ม เนื่องจากเลี้ยงง่าย
ราคาไม่แพงมีขายตามท้องตลาดในราคา หลักสิบ
ลักษณะ อุปนิสัย ทางพันธุกรรม
เหมือน clarkii ทั่วไป
แต่มีสีที่แตกต่างและสวยกว่าสายพีธรรมดา clarkii Ghost เป็นเครย์ฟิชที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เกิดจากการ บรีดดิ่ง
จนให้สีนิ่ง โดยมนุษย์เรานี่แหละ
สายพันธุ์นี้ได้นำเข้าจากประเทศฮ่องกง
ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มาแรงที่สุดในช่วงนี้ (ต้นปี 2016) บางคู่สีสวยๆรายสวยๆ ก้ามโตๆ มีราคาตั้งแต่คู่ละ 3-4 พัน ไปจนถึงหลักหมื่นกันเลยทีเดียว ลูกลงเดินราคากลางๆ
อยู่ราวๆ 7-8 ร้อยบาทในตอนนี้
Clarkii Clear ก็เกิดจากการบรีดดิ่ง
เช่นเดียวกับโกสต์ เช่นกัน ซึ่งก็นำเข้าจากประเทศฮ่องกง และก็เป็นกระแส
ที่แรงไม่แพ้โกสต์ เช่นกัน สองสายพันธุ์นี้ ถือได้ว่ามีกระแส
แรงคู่มากันในขณะนี้เลยทีเดียว แต่ในเคลียร์นั้นจะมีผลผลิต
ได้น้อยกว่าโกสต์ ในเวลานี้ ลักษณะเด่นๆ ของเคลียร์เลยก็คือ
จะมีแก้ม , ลำตัว และหางจะมีสีอ่อน ออกไปทางสีขาว
(ขาและหนวดสีจะอ่อนเหมือนสีของลำตัว)
ii Orange Ghost (โกสต์ส้ม)
สายพันธุ์นี้ก็ไม่มีในธรรมชาติ
และก็ไม่ได้นำเข้ามาแต่อย่างใด หากแต่ด้วยความสามารถของคนไทย
ซึ่งนำ Clarkii Ghost มาผสม จนได้ลักษณะของโกสต์
ที่มีสีส้ม บนลำตัว ถือได้ว่าเป็นความสำเร็จในระดับหนึ่ง
ที่สามารถทำให้มีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นในบ้านเรา จนประเทศอย่างฮ่องกงที่เป็นผู้ส่งเครย์ฟิช
เข้ามาขายในไทย ยังต้องนำ โกสต์ส้ม ที่เกิดจากฝีมือคนไทย
ไปขายในประเทศตนเช่นกัน แต่เนื่องด้วยกระแสโกสต์ในขณะนี้มาแรง
จนทำให้กระแสของโกสส้ม ถดถ่อยลง เป็นอย่างมาก แต่ถึงอย่างไรก็ตาม
โกสส้ม ยังคงมีความสวยงาม อยู่ในตัว ที่หาไม่ได้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่นกัน
Procambarus Clarkii Red (Red swamp, Red japan)
เครยฟิชสายพันธุ์นี้ในบ้านเราเรียกว่า
"เรดเจแปน" มีสีแดงเข้ม
ได้นำเข้ามาเลี้ยงในไทยได้นานมากแล้ว ซึ่งก็มีขายทั่วไปตามท้องตลาด
ราคาไม่แพง เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเนื่องจาก ผสมพันธุ์ และเลี้ยงง่าย
กุ้งแดง หรือ
กุ้งญี่ปุ่น (อังกฤษ: Red swamp crawfish, Louisiana crayfish) เป็นกุ้งน้ำจืดจำพวกเครย์ฟิชชนิดหนึ่ง มีรูปร่างบึกบึน ก้ามใหญ่โตแข็งแรง
มีหนามเป็นตุ่มทั้งที่ก้ามทั้ง 2 ข้าง และบริเวณส่วนหัว
มีขนาดยาวเต็มที่ได้ถึง 5.5–12 เซนติเมตร (2.2–4.7 นิ้ว) น้ำหนัก 50 กรัม
เป็นกุ้งน้ำจืดที่กระจายพันธุ์อยู่ในแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ ของรัฐลุยเซียนา
ทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา
มีสีดั้งเดิมเป็นสีแดงเข้มทั้งตัว
ใต้ท้องจะเป็นสีเหลืองอ่อน เดิมใช้เป็นกุ้งเพื่อการบริโภคในท้องถิ่น
และได้รับความนิยมแพร่หลายออกไปในหลายพื้นที่ รวมถึงนอกสหรัฐอเมริกา
จนกลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในฐานะที่เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เช่น
ประเทศญี่ปุ่น และเป็นที่นิยมในการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงในตู้ปลา
ซึ่งมีการเพาะเลี้ยงกันมาอย่างยาวนานกว่า 30 ปีแล้ว
โดยการขยายพันธุ์ทำได้ง่าย กุ้งจะเริ่มผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่มีขนาด 2 นิ้วขึ้นไป แต่ละครั้งจะวางไข่ได้ 300 ฟอง
โดยตัวเมียจะใช้เวลาฟักไข่จนออกเป็นตัวประมาณ 30 วัน
ลูกกุ้งวัยอ่อนมีขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร
ซึ่งในปัจจุบันได้มีการกลายพันธุ์ออกเป็นกุ้งสีสันต่าง ๆ
สวยงามกว่าสีดั้งเดิมในธรรมชาติ เช่น สีฟ้า, สีส้มสด,
สีขาวปลอด โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันออกไปในเชิงการค้า (แหล่งที่มา: th.wikipedia.org)
Procambarus Clarkii Orange (Bright Orange)
เครย์ฟิชชนิดนี้
ไบรส์ ออเร้นท์ ก็จะมีสีที่แตกต่างกันกับ เรดเจแปน คือ มีสีส้มเข้ม สว่าง
สายพันธุ์ไหนสวยกว่ากัน ก็แล้วแต่คนชอบครับ
Procambarus Clarkii White (Snow)
เครย์ฟิชสีขาว
หรือในบ้านเราเรียกว่า สไนว์
ก็เป็นอีกสายพันธุ์ที่ได้นำเข้ามาเลี้ยงในไทย นานพอสมควรเช่นกัน
ลำตัวจะมีสีขาว บ้างก็สีขาวนวล
ในปัจจุบัน
เครย์ฟิชสีที่ได้กล่าวมานั้น(Snow , Red japan , Bright Orange)
ก็สามารถผสมข้ามสีกันได้ เนื่องจากอยู่ในตระกูล Clarkii
เหมือนกัน จะเห็นได้ว่า
ตามท้องตลาดทั่วไปจะมีขายกันหลากหลายสีรวมกัน ในบางตัวก็อาจมีลักษณะสีที่ต่างจากสีที่กล่าวมานี้
เนื่องมาจากการผสมข้ามสีกัน จนทำให้เกิดสีใหม่นั่นเอง
Procambarus cubensis
มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศ คิวบา
เมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาดประมาณ 10cm เป็นเครย์ฟิชชนิดแรกที่นำมาเลี้ยงในตู้เลี้ยงสวยงามที่ประเทศเยรมัน
ตะวันออก ในปี ค.ศ. 1980 เครย์ฟิช 1 คู่ ควรเลี้ยงด้วยตู้ที่มีขนาดตั้งแต่ 24 หรือ 36
นิ้วขึ้นไป มีนิสัยที่ก้าวร้าว กินทุกอย่างที่มันคิดว่ากินได้
และถ้ามีพื้นที่ไม่เพียงพอจะกินกันเองในระหว่างที่ลอกคราบ สามารถทนต่อสภาพน้ำ
และปรับตัวได้เป็นอย่างดี และเริ่มพบได้ยากตามแหล่งน้ำธรรมชาติ
(ตัวเมียจะมีก้ามยาวกว่า มีหางที่กว้าง , และจะมี
จีโนพอตส์ ที่ตัวผู้)
Procambarus enoplosternum
มีถื่นกำเนิดที่ประเทศ
สหรัฐอเมริกา มีขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 7cm ควรเลี้ยงด้วยตู้ที่มีขนาดตั้งแต่
24 หรือ 36 นิ้วขึ้นไป
อาศัยในแหล่งน้ำที่มีที่ค่า ph ที่พิสัยกว้างได้
สายพันธุ์นี้พบในแหล่งน้ำที่มีสภาพเป็นกรดอ่อนๆ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีค่า
PH ตั้งแต่ 7 ขึ้นไป
อย่างไรก็ตามสายพันธุ์นี้จะไม่ค่อยทนสภาพน้ำที่สกปรก
สักเท่าไหร่ใช้เนื้อที่ในการหากินไม่มากนัก
สายพันธุ์นี้ยังมีการถูกรุกรานไม่มากนัก และสามารถกระจายพันธุ์ได้มากกว่า allenii
clarkii และ acutus
เป็นกุ้งที่สามารถผสมพันธุ์ได้ไว
ขนาดที่เคยพบในเพศเมีย สามารถผสมพันธุ์ได้ในขนาดเพียง 4 cm แต่ให้ไข่เพียงแค่
10 ฟอง
และจะสามารถให้ไข่ได้เพิ่มมากขึ้นตามขนาดของเพศเมีย มากสุดราวๆประมาณ 80
ฟอง
Procambarus fallax (Marble Crayfish, Marmor Krebse)
ถิ่นกำเนิดอาศัยในแม่น้ำ
สติลน่า ในประเทศจอร์เจียและ ฟลอริด้า
แต่พบครั้งแรกที่ตลาดซื้อขายปลาที่เยรมัน และเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อว่า
"มาโมเครบส์" ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 8cm ซึ่ง
มาโมเครบส์ นี้เป็นกุ้งที่สามารถขยายพันธุ์เอง โดยที่ไม่ต้องอาศัยตัวผู้
จะใช้วิธีโคลนนิ่งตัวเอง คือไข่เองโดยที่ไม่ต้องมีตัวผู้
เลี้ยงได้ง่ายแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว
ซึ่งทำให้ราคาในท้องตลาดไม่สูงมากนัก อาศัยในแหล่งน้ำที่มีที่ค่า pH
ที่แตกต่างได้ในระดับหนึ่ง สามารถทนต่อสภาพน้ำ
และปรับตัวได้ค่อนข้างดี แล้วสามารถผสมพันธุ์ได้ในตู้เลี้ยงได้ไม่ยากนัก
เป็นสัตว์ที่กินได้ไม่เลือก
Procambarus pubescens(BRUSHNOSE CRAYFISH)
สายพันธุ์นี้มีสีดำ
น้ำตาลบนเปลือกหลัง และมีจุดเป็นสีครีม และมีแถบสีอ่อนบนลำตัว
หน้าท้องมีสีน้ำตาลแดง และก้ามที่มีสำน้ำตาลเข้ม
ขนาดเมื่อโตเต็มวัยอยู่ที่ 3.2 นิ้ว
สามารถกินทั้งพืชและสัตว์ เช่น ตัวอ่อนแมลง ปลาดขนาดเล็ก ซากสัตว์
ถิ่นอาศัย: พบได้ในแม่น้ำ โอคอนนี
ในรัฐจอร์เจีย และทางตอนใต้ของ โคโรไลน่า
การผสมพันธุ์ : วัยที่สามารถผสมพันธุ์ได้ โดยเพศผู้จะมีขนาด 1.8 นิ้ว และ เพศเมียมีขนาด 2
นิ้ว ใช้เวลาในการฟักไข่เป็นตัว 30 วัน
สายพันธุ์นี้ถือว่ารับได้การอนุรักษ์ในประทศ จอรเจียร์
Procambarus spiculifer(WHITE TUBERCLED CRAYFISH)
เครย์ฟิชชนิดนี้สามรถพบได้ในแม่น้ำวานนาห์
ในตอนใต้ของแคโรไลนา เป็นสายพันธุ์ที่ค้นพบมากที่สุดในประเทศจอร์เจีย
ลักษณะโดยรวมจะมีสีน้ำตาล สีฟ้า และจะมีมาร์คสีดำ และมีก้ามสีเข้ม
ในตัวผู้จะมีก้ามที่โตกว่าเพศเมีย มีจุดสีแดง หรือม่วงตามขอบของลำตัว Tubercled
Crayfish
ขนาด: มีขนาดได้มากกว่า 4 นิ้ว
แหล่งอาศัย: มักอาศัยตามโขดหินใต้พื้นน้ำ
สามารถกินได้ทุกอย่าง ตัวอ่อนแมลง สัตว์น้ำขนาดเล็ก รวมถึงปลาตัวเล็กๆด้วย
จำนวนไข่: จำนวนไข่ของเพศเมียนั้นประมาณ 22 ถึง 363 ฟอง
สามารถปรับตัวได้กับค่า pH ที่แตกต่างกันได้ดี
อุปนิสัย: สายพันธุ์นี้จะไม่ทนต่อสภาพน้ำคุณภาพต่ำ
มีพฤติกรรมที่ขี้อาย ค่อนข้างรักความสงบ
อายุ : จะโตเต็มวัยได้เมื่ออายุ 1 ปีและอาจมีอายุได้ถึง
3 ปี
Procambarus toltecae
สายพันธุ์นี้เป็นเครย์ฟิชที่มีสีสวยจัดจ้าน
ตามธรรมชาติ ซึ่งแตกต่างจากเครย์ฟิชสายพันธุ์อื่นที่ในหลายๆ
ครั้งจะต้องนำมาเลี้ยงในตู้ให้อาหารจึงจะสีที่สวยงาม ไม่ทนต่อน้ำที่มีค่า pH
ที่สูงหรือต่ำจนเกินไป ไม่ควรเลี้ยงในน้ำที่มีค่า pH ต่ำกว่า 7 ไม่ค่อยทนต่อน้ำคุณภาพต่ำได้ดีเหมือนกัน
alleni ,clarkii หรือ acutus เพศผู้จะมีก้ามยาวกว่าเพศเมีย
และเพศเมียจะมีปลายหางที่แผ่กว้างกว่าเพศผู้
และในจะมีสีสันที่โดดเด่นในเพศผู้ พบได้ยากมากในแหล่งน้ำธรรมชาติ
ถิ่นกำเนิด: พบได้ในประเทศ เม็กซิโก
ขนาด: เมื่อโตเต็มวัยมีขนาดประมาณ 3.2 นิ้ว
ปริมาณไข่: ตัวเมียจะออกไข่ประมาณ 50 ฟองซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 mm ซึ่งไข่จะมีขนาดใหญ่กว่า
clarkii เล็กน้อย จะฟักไข่เมื่อสัปดาห์ที่
4 และลูกจะเริ่มมีสีสันเมื่อเข้าวัยเจริญพันธุ์
Procambarus vasquezae
มีถิ่นกำเนิดในประเทศ เม็กซิโก
มีขนาดประมาณ 6 cm สายพันธุ์ที่รักสงบ
นิสัยไม่ค่อยก้าวร้าว เป็นมิตรต่อไม้น้ำในตู้
ซึ่งไม่ค่อยทำลายไม้น้ำอย่างเช่นสายพันธุ์อื่น
การเลี้ยงดูควรดูแลเรื่องคุณภาพน้ำ
สายพันธุ์นี้ต้องการคุณภาพน้ำที่ดีกว่าสายพันธุ์อื่น เพศผู้จะมีก้ามและ จีโนพอร์ต
ที่ยาว และจะมีหางที่แผ่กว้างในเพศเมีย
และมีไข่ขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดของลำตัว อาศัยในค่า pH ประมาณ 6.5- 8.5
Procambarus versutus
มีถิ่นกำเนิดในประเทศสหรัฐอเมริกา
สายพันธุ์นี้ทนต่อสภาพน้ำได้ดี รักสงบมีนิสัยไม่ค่อยก้าวร้าว
สามารถเลี้ยงรวมกันหลายตัวได้
แต่ต้องอยู่ในจำนวนที่เหมาะสมกับขนาดของตู้
สามารถปลูกไม้น้ำในตู้ที่เลี้ยงได้ เพศผู้จะมีก้ามและ จีโนพอร์ต
ที่ยาว และจะมีหางที่แผ่กว้างในเพศเมีย หาพบได้ยากตามแหล่งน้ำธรรมชาติ
การลอกคราบในแต่ละครั้งอาจมีสีน้ำตาล หรือสีฟ้า ตามแต่อาหารที่ได้รับ
ขนาด: เมื่อโตเต็มวัยมีขนาดประมาณ
7cm
Procambarus milleri( Miami Cave Crayfish)
ลักษณะเด่นของสายพันธุ์นี้คือมีสีตามลำตัวเป็นสีเหลือง
ส้ม รวมถึงตัวอ่อนที่กำลังโตด้วยเช่นกัน จะแตกต่างจาก P.
alleni ที่ตัวผู้นั้นจะมีก้ามที่ยาวกว่าก้ามของตัวเมีย ,
P. milleri เพศผู้ และเพศเมียจะมีขนาดของก้ามเท่ากัน
ในต่างประเทศเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก
เนื่องจากสีที่สวยเมื่อเลี้ยงไว้ในตู้ที่มีพื้นกรวดสีดำ และแสงนีออนส่อง
แบบอ่อนๆ
ถิ่นกำเนิด : ไมอามี่ , ฟรอลิด้า
ขนาดเมื่อโตเต็มวัย : มีขนาดประมาณ 3 นิ้ว
การเลี้ยงดู : ควรเลี้ยงในน้ำที่มีค่าเป็นด่างอ่อนๆ
เป็นสายพันธุ์ที่มีนิสัยไม่ค่อยก้าวร้าว ถึงแม้จะเลี้ยงรวมกันเป็นจำนวนมาก
อุณหภูมิ: ระว่าง 20c - 30 c
การผสมพันธุ์: สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี
และเพศเมียแรกเริ่มจะออกไข่ประมาณ 100 ฟอง(ขึ้นกับขนาดของเพศเมีย)
ไข่จะมีลักษณะเป็นสีดำและมีขนาดใหญ่ เครย์ฟิชสายพันธุ์นี้สามารถเลี้ยงลูกรวมกับพ่อแม่ได้
แต่ไม่ควรเลี้ยงปลารวม เนื่องจากอาจจะกินลูกเครย์ฟิชเหล่านี้ได้
Procambarus (Seepage Crayfish)
สามารถพบเห็นได้ใน ลีออน, คูล่า และรัฐฟลอริด้า
สายพันธุ์นี้ยังคงไม่มีข้อมูลมากนัก
และได้มีการอนุรักษ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา
Post A Comment:
0 comments: