กุ้งเครย์ฟิชสายพันธ์ C Parastacoidae(สาย C: Cherax)

Share it:
กุ้งเครย์ฟิชสายพันธ์ C Parastacoidae(สาย C: Cherax)
     Parastacoidae(สาย C) : เครย์ฟิชสกุลนี้ สามารถพบได้ในประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ ทวีปอเมริกาใต้ และประเทศมาดากาสการ์ ทวีปแอฟริกา มี 16 สกุล 179 สปีชีส์   ในบ้านเรานั้นจะรู้จักในวงศ์ตระกูล Cherex ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า สาย ก้ามเรียบ ก้ามโต ตัวใหญ่ได้ถึง 30 ซม.  วัยเจริญพันธุ์ประมาณเข้าเดือนที่ 5-6   หรือกุ้งมีขนาด 3-4 นิ้ว  สายพันธุ์นี้หลังจากผสมพันธุ์ สามารถขับไข่ได้ภายใน 1 ชม.  สายซี ในบ้านเราส่วนใหญ่จะนำเข้าจาก ประเทศอินโดนีเซีย
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. Cherax destructor (Destructor,  Albidus, Blue Pearl)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


Cherax destructor(เดสทรัคเตอร์) 
C. Destructor มีถิ่นกำเนิดในประเทศออสเตรเลีย เมื่อสอง สามปีก่อนเป็นกุ้งที่มีความนิยมมากในบ้านเรา ภาษาท้องถิ่นในออสเตรเลียเรียกว่า "Yabby"  บ้านเราเรียกสั่นๆ ว่า "เดส"  Destructor  มาจากคำว่า "Destroyer"  แปลว่า ผู้ทำลาย   นิสัยและพฤติกรรม ค่อนข้างก้าวร้าว กว่าสายพันธุ์อื่น  มีลักษณะของก้ามที่บึกบึน กลมใหญ่ ดูแข็งแรง  ลักษณะของลำตัวจะสั้นเมื่อเทียบกับก้าม ข้อก้ามจะมีสีส้มแดง  สามารถมีได้หลายสีเช่น  สีฟ้า  สีน้ำตาล  สีน้ำเงินเข้ม  สีดำ  สีเขียวแกมน้ำตาล   ตามแต่สภาพแวดล้อม อุณหภูมิของน้ำ และอาหารที่ได้รับ  ในปัจจุบันก็มีการเพาะกันได้อย่างแพร่หลาย เลี้ยงได้ไม่ยาก  ทนต่อสภาพแวดล้อม  สามารถเพาะได้ง่าย  เลี้ยงในน้ำอุณหภูมิปกติได้  ในบางรายทำบ่อเลี้ยงเหมือนกับก้ามแดง  กันเลยทีเดียว เนื่องจากมีราคาที่ไม่สูงมากนัก สามารถเลี้ยงในปริมาณมากได้เช่นเดียวกับก้ามแดง
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


Cherax destructor  Albidus(อบิดัส) 
C.Albidus บ้านเราเรียกสั้นๆว่า อบิดัส  ตามหลักวิทยาศาสตร์  ถือว่าเป็น sub species ของ เดสทรัคเตอร์นั่นเอง ซึ่งได้นำเข้ามาเลี้ยงในบ้านเราได้หลายปีแล้ว ก็มีเพาะสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง ปัจจุบันก็ได้มีการนำเข้ามาเรื่อยๆ   มีทรงก้ามที่เรียวกว่า  ก้ามเล็กกว่า เดสทรัคเตอร์  หัวจะเรียวกว่าเดส เมื่อมองจากด้านบน  ก้ามด้านในจะมีขน คล้ายกำมะหยี่ ข้อก้ามมีสีขาว  สามารถมีได้หลายสีเช่นกัน เช่น  น้ำตาล  เขียวอมน้ำตาล  สีน้ำเงิน   ฟ้า  (ถ้ามีสีฟ้า  ก็จะมีสีเช่นเดียวกับบลูเพิลเลย) 
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 
Blue Pearl (บลูเพิล) บลูเพิลก็คือ Cherax destructor  Albidus ที่มีสีฟ้านั่นเอง คือมีสีที่นิ่งคือสีฟ้า ไม่เปลี่ยนเป็นสีอื่น (แต่ไม่ได้หมายความว่า อบิดัส ที่มีสีฟ้าจะเรียกว่า บลูเพิล ได้นะครับ เพราะยังสามารถเปลี่ยนเป็นสีต่างๆได้) อาจจะมีสีอ่อน สีเข้ม ตามแต่สภาพในการเลี้ยง  ลักษณะของบลูเพิล  ข้อก้ามจะเรียวและยาวกว่าเดส  มีสีจุดขาว หรือสีอื่นตามข้างลำตัว  มีข้อก้ามสีขาว สีเทา หรือสีอมชมพูอ่อน บลูเพิลหรืออบิดัส ควรเลี้ยงในน้ำเย็นที่ประมาณ 18 - 24 C
       ในหลายๆ ครั้งก็ยังมีการถกเถียงกันในเรื่องของ สายพันธุ์ว่า  "อบิดัส ก็คือ พลูเพิล"  "บลูเพิลก็คือ อบิดัส"    หากเคยเรียนวิชาชีวะก็จะเป็นเรื่องของ ยีนเด่น ยีนด้อย   นั่นเอง  บลูเพิลก็คือยีนด้อยที่ได้มาจาก อบิดัส  แล้วได้นำเอายีนด้อยนี้มาผสม ย้ำหลายๆครั้ง จนสีนิ่ง (ได้โทนสีฟ้า) จึงเรียกว่า  บลูเพิล
สรุปคือ   บลูเพิล  คือ เครย์ฟิชสายพันธุ์ C.Albidus  ที่มีลักษณะของยีนที่ให้สีฟ้าได้คงที่  คือไม่เปลี่ยนไปเป็นสีอื่น นั่นเอง
 ซึ่งก็นับได้ว่าเป็นกุ้งที่ได้รับความนิยมมามานานแล้ว ราคาสายพันธุ์นี้ก็จะคงตัว  กระแสไม่ตก  เนื่องจากยังสามารถเพราะได้น้อยมากในบ้านเรา ซึ่งก็เป็นที่น่าสนใจ สำหรับคนเลี้ยงกุ้งหลายๆคนได้เป็นอย่างดี    

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
2. Cherax quadricarinatus (Red Claw, Blue Lobster, Rainbow)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------




       บลูล็อบเตอร์  หรือกุ้งก้ามแดง ถือว่าเป็นที่รู้จักกันดีในบ้านเรา และเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่กำลังมาแรงในขณะนี้  และเป็นกุ้งเครย์ฟิชที่นำเข้าจากออสเตเลีย เป็นชนิดแรกในบ้านเรา  ปัจจุบันได้มีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายทุกพื้นที่ของไทย และเป็นสายพันธุ์ที่ทนต่อสภาพอากาศได้เป็นอย่างดี  บลูล็อบเตอร์เป็นสายพันธุ์ที่เหมาะสำผู้เริ่มต้นเลี้ยงเครย์ฟิช  เลี้ยงง่าย  และจะมีสีแดงตรงปลายก้ามด้านนอกของเพศผู้  จึงเป็นที่มาของกุ้งก้ามแดง  


การเลี้ยงดู :  ถ้าเลี้ยงในบ่อดิน จะมีสีออกสีเขียวสนิม    และจะมีสีฟ้าเข้มสวย เมื่อเลี้ยงในตู้  ทั้งนี้ขึ้นกับอาหารที่ให้ด้วยเช่นกัน   หากต้องการให้มีสวยฟ้าเข้มควรเลี้ยงในตู้ในอาหารเม็ด อาหารสด  งดสาหร่าย ซึ่งมีสารกระตุ้นการสร้างเม็ดสี  

ขนาด: เมื่อโตเต็มวัย อยู่ที่  8.5" - 12"  เมื่อเลี้ยงในบ่อธรรมชาติจะมีขนาดโตกว่าเลี้ยงในตู้

อุณหภูมิ : ที่ใช้เลี้ยงอยู่ที่ 22c - 32c  ซึ่งเหมาะสมในสภาพอากาสในบ้านเรา และจะตายเมื่อมีอุณหภูมิต่ำถึง 13C   แต่ถ้ามีอุณหภูมิที่สูงมากไปก็จะมีผลต่อการผสสมพันธุ์ได้เช่นกัน

 การผสมพันธุ์:  สามารถผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่  ประมาณ 3.5- 4" ขึ้นไป  หรืออายุประมาณ 5-6 เดือน   สามารถให้ไข่ได้มากถึง  500-1500 ฟอง ขึ้นกับขนาด, อายุ และความสมบูรณ์ของเพศเมีย  และจะใช้เวลาในการฟักไข่ประมาณ 45 วันตัวอ่อนถึงฟักเป็นตัว

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
3. Cherax holthuisi (Apricot, Black Orange Tip , Black Orange Tail)
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

      C.holthuisi ซึ่งถือได้ว่าเป็นสปีชีส์ใหม่  ของกุ้งเครย์ฟิช  ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย อาศัยอยู่ที่อุณหภูมิประมาณ     22-28C   ค่า pH 6.5-7.5  สายพันธุ์ตามวิทยาศาสตร์สามารถแยกได้ 2 สายพันธุ์คือ C. holthuisi Apricot  และ C. holthuisi Orange Tail(Black Orange Tip)

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

Apricot(แอปพลิคอต) 
     Apricot  มีถิ่นกำเนิดใน นิวกีนี อีเรียนจาญ่า ในประเทศอินโดนีเซีย  มีดวงตาขนาดเล็ก ทรงก้ามสวยงาม มีสีส้มโอรสที่สวยงาม เป็นสายพันธุ์ที่รักสงบ ชอบหลบซ่อน  และพบได้ยากในธรรมชาติ สามารถเปลี่ยนได้หลายสี เช่น สีฟ้า สีออกชมพู  ในบางครั้งมีสีเหลือง   ในช่วงกลางปี 2555 เป็นที่นิยมในบ้านเรามาก  ซึ่งก็สามารถเพาะกันได้บ้างที่ F1 - F2   แต่ก็ได้เงียบหายไป  ก็ยังถือได้ว่ายังไม่ประสบความสำเร็จในการเพาะในบ้านเราสักเท่าไหร่  ปัจจับันส่วนใหญ่ที่เลี้ยงกันก็จะนำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


Cherax holthuisi Orange Tip(บอททิป)
     ในบ้านเราเรียกกุ้งชนิดนี้ว่า Black Orange Tip  ในบ้านเราเรียกชื่อย่อว่า  BOT Tip   ลักษณะของสีนั้น  ลำตัวมีสีเขียวเข้มทะมึน  ก้ามสีเดียวกับตัว ปลายก้ามมีสีส้ม  มีลายคาดตามปล้องของลำตัว  หางมีสีส้มเหลือง  และอาจมีสีฟ้าได้ ตามแต่สภาพแวดล้อม และอาหาร

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

   Black Orange Tail (เพอร์เพิล) 
        บ้านเราเรียกกุ้งชนิดนี้ย่อๆว่า   BOT Tail ในต่างประเทศเรียกว่า   "Black scorpion"  จากการค้นคว้าไม่มีข้อมูลเครย์ฟิชชนิดนี้เลย  ซึ่งในเว็บไซต์ก็ได้กล่าวไว้ว่า ชาวอินโดนีเซียเอง ก็ยังไม่เคยได้ยินเครย์ฟิชชนิดนี้เช่นกัน อาจกล่าวได้ว่าเป็นเพียงการเรียกชื่อทางการค้าในบ้านเรา  ตามลักษณะของสีเครย์ฟิชชนิดนี้   ลักษณะ :  มีลักษณะเหมือน Black Orange Tip  แต่ไม่มี  สีส้มคลาดตามปล้องของลำตัว   มีหางสีส้ม   สามารถเป็นสีฟ้าได้  หากเป็นสีฟ้าจะเรียกว่า "เพอร์เพิล"  ก็เป็นอีกชื่อที่ให้เรียกตามลักษณะของสีเครย์ฟิชที่ได้เช่นกัน  ซึ่งสายพันธุ์นี้ ค่อนข้างจะโตช้า  อย่างไรก็ตามสายพันธุ์นี้สามารถเพาะพันธุ์ได้ในไทยแล้ว  ก็มีให้ซื้อขายกับได้บ้างแล้วในบ้านเรา แต่ก็ยังมีจำนวนไม่มากนัก  
 ในบางครั้ง อาจพบลักษณะของ  Black Orange Tip  ใน Black Orange Tail    ซึ่งสองสายพันธุ์นี้สามารถผสมพันธุ์กันได้


5. Cherax sp "Hoa Creek" (Iran Jaya, Blue Moon, Blue leg, New Red , TriColor)
      ขอกล่าวคุณลักษณะภาพรวมของ  Cherax sp "Hoa Creek" นะครับ  : มีถิ่นกำเนิดในแถบ ปาปัวนิวกีนี  และ อีเรี่ยนจาญ่า ขนาดเมื่อโตเต็มวัยประมาณ 3-4 นิ้ว อุณภูมิที่อาศัยอยู่ประมาณ 22 C ถึง 28 C  ค่า pH 6.5 - 8.5  กุ้ง กิน ระหว่าง 1% ถึง 4 % ของน้ำหนักของกุ้ง ทุกสามวัน ขึ้นอยู่กับ ระดับการใช้พลังงานของเครย์ฟิช 
เพศผู้จะมีขนาดใหญ่ และก้ามยาว กว่าเพศเมียเล็กน้อย  มีอวัยวะสืบพันธุ์ ในคู่แรกของขาเดิน ในเพศเมียมีรูสืบพันธุ์ในขาคู่ที่สามของขาเดิน 
 การขยายพันธุ์ :  เพศเมียจะอุ้มไข่เก็บไว้ในขาว่าย ปกติจะฟักไข่ 30 ถึง 50 วัน มีขนาดของไข่ 2 mm  จะมีไข่ประมาณ 50 ถึง 100 ฟอง  เมื่อลูกกุ้งลงเดินแล้วควร หาที่หลบซ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากสายพันธุ์นี้ มีพฤติกรรมกินกันเองเช่นกัน  
 การดูแล :  เลี้ยงดูเหมือนเคยร์ฟิชปกติทั่วไปการเพิ่ม MgCl2.6H2O ( แมกนีเซียม คลอไรด์ เฮซาไฮเดรต) 5g / ลิตร  ลงในน้ำ จะช่วยป้องกันโรคระบาดและเชื้อแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี ปล. เป็นสายซี อินโด ซึ่งมักจะได้รับฉายาว่า "สายหลบ"  เนื่องจากมีนิสัยไม่ชอบออกมาปรกากฏตัวให้เห็นมากนัก จะหลบซ่อนอยู่ตลอดเวลา  และการเพาะพันในไทยก็ยังถือว่าทำได้น้อยมาก ยังไม่ประสบความสำเร็จกันมากนัก ที่พบเห็นมีลูกใน ที่ F1 - F2     ถึงอย่างไรก็ตามก็ยังเป็นที่สนใจต่อผู้เลี้ยงหลายๆ คนเช่นกัน

Blue Moon(บลูมูน) 
บลูมูนมีลำตัวสีน้ำเงินเข้ม มีจุดสีเทาขาวตามลำตัว  มีก้ามสีน้ำเงินเข้ม ขอบด้านนอกก้ามมีสีขาว เทา  มีขาสีน้ำเงิน  ปลายหางสีส้ม หรือเหลือง  หาซื้อได้ไม่ยากนัก  ถือได้ว่าเป็นกุ้งที่มีเสน่ห์และสวยงาม นิยมเลี้ยงในบ้านเราพอสมควร (จากการค้นคว้าไม่มีข้อมูลเชิงวิทยาศาตร์ เป็นเพียงการเรียกตามลักษณะสีของเครย์ฟิชเท่านั้น)

Iran Jaya(อีเรี่ยน จาย่า)
   อีเรี่ยน จาย่า มีลักษณะคล้าย บลูมูน  ลำตัวสีหลักมีสีน้ำเงิน  แต่จะมีสีอมม่วงบนลำตัว  มีก้ามขนาดใหญ่สีน้ำเงินเข้ม ปลายก้ามขอบด้านนอกมีสีขาวเทา  ในต่างประเทศเรียกว่า "เรนโบว์"  เนื่องจากในตัวอาจมีสันได้มากถึง 7 สีเลยทีเดียว (จากการค้นคว้าไม่มีข้อมูลเชิงวิทยาศาตร์ เป็นเพียงการเรียกตามลักษณะสีของเครย์ฟิชเท่านั้น)

TriColor(ไตรคัลเลอร์)

ก็ยังเป็นเครย์ฟิชที่ไม่ได้มีลักษณะที่ชัดเจนตายตัว  ซึ่งจากการค้นคว้า  ไม่มีข้อมูลของเครย์ฟิชชนิดนี้ ซึ่งก็อาจเป็นชื่อทางการค้าในบ้านเราเท่านั้น ลักษณะของสีที่เคยพบเห็นคือ มีขาสีน้ำเงิน ลำตัวสีน้ำตาล  มีก้ามสีน้ำเงิน แกมส้ม ถ้าดูจากลักษณะของขอบก้ามด้านนอกจะมีสีขาวเทา (จากการค้นคว้าไม่มีข้อมูลเชิงวิทยาศาตร์ เป็นเพียงการเรียกตามลักษณะสีของเครย์ฟิชเท่านั้น)

 
(ภาพหาในเว็บนอกไม่ได้ ขออนุญาติเจ้าของภาพในบ้านเราด้วยนะครับ)

Cherax sp "Red Brick" (New Red)

สายพันธุ์นี้ก็ไม่มีข้อมูลให้ค้นคว้าเช่นกัน ลักษณะของสีที่พบกันในบ้านเรา  :ลำตัวมีสีน้ำเงิน แกมม่วง ตัวลำตัว  ลักษณะของก้ามก็เช่นเดียวกันคือมีสีขาวเทา ตรงปลายก้ามด้านนอก

  

Cherax gherardii(Blue leg (บลูเลค))

จากการค้นคว้าข้อมูลพบว่า ข้อมูลที่ใช้เรียกเครย์ฟิชกลุ่มนี้ว่า   Blue leg ("บลูมูน" หรือ  "เรนโบว์" )   ไม่ได้เรียก  "อีเรี่ยน จาย่า"   "ไตรคัลเลอร์"   เหมือนบ้านเรา  การเรียกชื่อนั้น ซึ่งก็จะใช้เรียกตามลักษณะของสี ที่ขายกันในบ้านเรา  เครย์ฟิชกลุ่มนี้ก็ยังถือว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ได้ค้นพบ ในวงการวิทยาศาสตร์   จึงไม่มีข้อมูลให้ศึกษากันมากนัก

   

ปล. อย่างไรก็ตามเครย์ฟิชสายพันธุ์นี้ใช้เรียกชื่อตามสี  ในทางการค้าเท่านั้น  ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนในทางวิทยาศาสตร์ หากแต่เป็นการเรียกทางการค้าเพื่อแยกสีของ C.Hoa Creek  ก็ได้กลุ่มนี้เรียกโดยรวมว่า "Blue leg"  ซึ่งสามารถผสมพันธุ์ ข้ามสีกันได้  (สีที่เิดขึ้นมานั้นเกิดตามลักษณะของยีน)



 
6. Cherax peknyi (ม้าลาย)
     ม้าลาย เป็นเครย์ฟิชย์สายซีอินโด ที่นำเข้ามาสายพันธุ์แรก ซึ่งมีลักษณะของสีที่สวยงามและลงตัวมาก มีหลังสีดำ สีขาวคาดตามข้อปล้อง ในเมืองนอกเรียกว่า Tiger crayfish ซึ่งมีลักษณะคล้ายเสือ  ก้ามสีขาว  ข้อก้ามมีเฉดสีส้ม  หาได้ไม่ยากนัก ส่วนใหญ่ที่เลี้ยงกัน จะเป็นกุ้งนำเข้า  การเพาะพันธุ์ยังถือว่าเพาะได้น้อย น่าจะจบที่รุ่น F1 - F2  ถือได้ว่ายังไม่ค่อยประสบความรำเร็จกันมากนัก



http://crayfishclubthailand.com/images/cherax/blue_marron1.jpg
 7. Cherax tenuimanus (Blue Marron)

รายละเอียด: ผู้เลี้ยงเครย์ฟิชชนิดนี้ชาวออสเตเลียได้บอกว่า เครย์ฟิชชนิดนี้จะมีสีขาว หรือเผือก  ในขณะที่โดยทั่วไปจะมีสี ดำ หรือน้ำตาล  ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่เพิ่งถูกค้นพบเมื่อเร็วๆนี้  ซึ่งเป็นหนึ่งในเครย์ฟิชที่มีขนปลกคุมด้านบนของลำตัว   เครย์ฟิชชนิดนี้จะมีความแตกต่างกันทางพันธุกรรม จาก C. tenuimanus   และได้แยกเป็นอีกสายพันธุ์ใหม่เมื่อไม่นานมานี้

 ถิ่นอาศัย:  อาศัยอยู่ทางตะวันตกของประเทศออสเตเลีย ซึ่งอยู่ในแม่น้ำ เมอร์เรีย และแม่น้ำเคนท์  ตลอดจน ทางเหนือของแม่น้ำ แชปแมน

ขนาด:  เมื่อโตเต็มวัยมีขนาดได้ถึง 15 นิ้ว จนถึง 4 ปอนด์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครย์ฟิชน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่พอสมควร

การเลี้ยงดู: อาหาร , จำนวน , และ อุณหภูมิ  ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโต มีความรู้สึกไวต่ออุณหภูมิที่สูงเกินไป ซึ่งอุณหภูมิในการเลี้ยงไม่ควรเกิน 27c   ตู้เลี้ยงควรมีเนื้อที่กว้าง  และมีอ๊อกซิเจนที่มากพอ ในแหล่งน้ำธรรมชาติเคยมีบันทึกว่า ในฤดูร้อนมีอุณหภูมิที่สูงถึง 

อุปนิสัย: Cherax tenuimanus เป็นสัตว์ที่รักสันโดด และมีนิสัยก้าวร้าว และไม่ควรเลี้ยงรวมกันจนแออัดจนเกินไป เพราะตัวที่โตกว่าจะกินตัวที่เล็กกว่า
อุณหภูมิ :  16c - 22C
การผสมพันธุ์ :   การนำมาเพาะพันธุ์ ถือได้ว่าเป็นเรื่องยากมาก  และต้องการปริมาณอ๊อกซิเจนในน้ำค่อนข้างสูง ในเริ่มแรกเพศเมียจะให้ไข่เพียง 90 ฟองเท่านั้น


Share it:

เกษตรสัตว์

ประมง

Post A Comment:

0 comments: