การปฏิบัติดูแลรักษาพันธ์พีช

Share it:
การปฏิบัติดูแลรักษาพันธ์พีช

การดูแลรักษาโดยทั่วไป
     การปลูกเลี้ยงไม้กระถาง มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปฏิบัติดูแลรักษาอย่างดี และสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อให้ไม้กระถางมีอายุยืน และคงความสวยงามไว้ได้นาน ไม่ต้องเปลี่ยนกระถาง หรือต้นไม้บ่อยครั้ง การดูแลรักษาโดยทั่วไปจึงควรคำนึงถึงความสำคัญดังต่อไปนี้
ไม่ควรตั้งไม้กระถางในที่ที่มีลมแรงมาก หรือตั้งใกล้ที่มีไอร้อนมาก เช่น อยู่ใกล้เครื่องทำความร้อน ไม้กระถางส่วนมากไม่ชอบให้ลมพัดโกรกมาก หรืออุณหภูมิสูง เพราะจะทำให้พืชมีการระเหยน้ำมากจนต้นไม้นั้นเหี่ยวเฉาตายได้ โดยเฉพาะการใช้ไฟส่องแสงสว่างแรงๆ และใกล้ต้นไม้เกินไปทำให้ต้นไม้ทนความร้อนไม่ไหวทำให้เหี่ยวเฉาตายได้ในที่สุด
     การนำไม้กระถางไปใช้งานหรือประดับในที่ต่างๆ จึงต้องคำนึงถึงช่วงเวลาการใช้งานของไม้แต่ละกลุ่มด้วย เช่น ไม้กลางแจ้งจำพวกหมากเหลือง ไทร ไผ่ วาสนา หากนำไปใช้ประดับในร่ม หรือในอาคาร ช่วงเวลาของการใช้งาน 6-8 สัปดาห์ ก็ควรสับเปลี่ยนไม้ชุดใหม่เข้าแทน เพื่อจะได้พักฟื้นไม้ประดับชุดเก่า
ส่วนไม้ในร่มหรือกึ่งร่ม เช่น โมก คล้า อะโกลนีมา เปปเปอโรเมีย ฟิโล เดนดรอน พลูด่าง เฟิร์น รวมทั้งกลุ่มไม้ดอก เช่น กล็อกซีเนีย กล้วยไม้ อาฟริกันไวโอเลท จะอยู่ได้นานกว่า เพราะไม้กลุ่มนี้ต้องการแสงจำกัดอยู่แล้ว อายุการใช้งานอาจจะถึง 8–10 สัปดาห์ แต่อย่างไรก็ตามอายุการใช้งานของไม้ทั้ง 2 กลุ่มนี้ ถ้ายิ่งใช้งานช่วงเวลาสั้นจะดีกว่าเพราะไม่ทำให้ต้นไม้โทรมหรือช้ำมาก ไม้จะฟื้นตัวเร็วและคงความสวยงามได้นาน ดังนั้นสำหรับไม้ประดับในร่มแล้ว จึงควรเตรียมไม้ประดับไว้หลายชุด เพื่อใช้สับเปลี่ยน
ไม้กระถางที่ใช้ประดับนอกอาคารนั้นสำคัญที่สุดก็คือการให้น้ำสม่ำเสมอ ถ้าขาดน้ำแล้วจะเหี่ยวเฉา ถ้าใช้จานรองก้นกระถางหล่อน้ำเอาไว้ก็อาจจะช่วยได้บ้าง
     การดูแลทำความสะอาดใบ ก็นับเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน เพราะใบที่สะอาดคือใบที่แข็งแรง การล้างใบเป็นการล้างเอาฝุ่นละอองออกจากใบ นอกจากจะทำให้ใบสะอาดสวยงามแล้ว ยังทำให้พืชสามารถปรุงอาหารได้ดีขึ้นอีกด้วย วิธีล้างใบควรใช้น้ำสบู่อ่อนๆ จะไม่ทำให้เป็นอันตรายต่อใบ ไม่ควรใช้ผงหรือน้ำยาซักฟอกประเภทกัดรุนแรงโดยเด็ดขาด
     ส่วนโรคที่พบอยู่เสมอได้แก่โรคโคนเน่า มักเกิดกับพืชในระยะที่เป็นต้นกล้ายังตั้งตัวไม่ได้ แสดงอาการใบเหี่ยว เมื่อดูที่โคนต้นระดับผิวดินจะพบรอยเน่า และต้นล้มตายในที่สุด การป้องกันให้พยายามทำให้บริเวณโคนต้นโปร่ง มีการระบายอากาศดี มีแสงแดดส่องถึง และรักษาผิวหน้าดินปลูกอย่าให้ชื้นแฉะเกินไป การปลูกเลี้ยงไม้ประดับต้องมีการปฏิบัติดูแลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ไม้ประดับมีความแข็งแรงสวยงามได้นาน จึงควรปฏิบัติต่อไม้ประดับ
     1) การให้น้ำ การให้น้ำแก่ไม้ประดับมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต เพราะการให้น้ำมาก/น้อยเกินไป หรือให้น้ำไม่ถูกวิธีทำให้เกิดปัญหากับพืชได้ ดังนั้นการให้น้ำเวลาใดต้องคำนึงถึงความสะดวกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ เช่น ดินปลูก ความชื้นในดิน ฤดูกาล ชนิดพืช ความเข้มแสง อุณหภูมิ ฯลฯ การให้น้ำที่พอดีจะทำให้พืชมีอายุยืนยาว เจริญเติบโตเร็วและสวยงาม
     2) การให้ปุ๋ย การให้ปุ๋ยควรพิจารณาความอุดมสมบูรณ์ของวัสดุปลูกเป็นหลัก วัสดุปลูกที่มีความอุดมสมบูรณ์น้อยมีความจำเป็นที่จะต้องใส่ปุ๋ยเพิ่มให้เพียงพอต่อความต้องการของพืช ควรเน้นการให้พวกอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรืออาจให้ปุ๋ยเคมีบ้างเพื่อปรับสภาพในแต่ละช่วงแต่ละฤดูกาล เช่น ฤดูร้อนจะให้ปุ๋ยในโตรเจนสูง ฟอสฟอรัสต่ำ และโปรแตสเซียมสูงเล็กน้อย ฤดูฝนจะให้ปุ๋ยไนโตรเจนต่ำ ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมสูง ส่วนฤดูหนาวก็จะให้ปุ๋ยไนโตรเจนสูงมากๆ เพื่อกระตุ้นให้พืชตอบสนองต่อการเจริญเติบโต
     3) การตัดแต่ง ไม้ประดับหลังจากปลูกไปนานๆ จำเป็นต้องมีการตัดแต่งกิ่งออกไปบ้างโดยใช้กรรไกรตัดแต่ง หรือมีดคมๆ เพื่อรักษาทรงพุ่มให้สวยงามยิ่งขึ้น บางครั้งอาจมีกิ่งหักเสียหาย กิ่งมีโรคและแมลงเข้าทำลายหรือกิ่งแห้งเหี่ยวก็ควรตัดออก นอกจากต้นไม้จะดูสวยงามขึ้นแล้วยังเป็นการรักษาสุขภาพของต้นไม้ให้ดีขึ้นด้วย
     4) การเปลี่ยนถ่ายกระถาง ไม้ประดับที่ปลูกลงกระถางเมื่อปลูกเลี้ยงจนโตเต็มที่ควรมีการเปลี่ยนกระถางที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือเปลี่ยนดินใหม่ที่มีธาตุอาหารสมบูรณ์กว่าเดิมเพื่อไม่ให้พืชชะงักการเจริญเติบโต โดยการเปลี่ยนกระถางไม้ประดับมีขั้นตอน ดังนี้ 
          1) เลือกกระถางใหม่ตามขนาดที่ต้องการมาล้างทำความสะอาด 
          2) เตรียมวัสดุปลูกเพื่อใส่ในกระถาง 
          3) นำต้นพืชออกจากกระถางเก่าและแซะดินเก่าออกประมาณครึ่งหนึ่ง 
          4) นำต้นพืชลงปลูกในกระถางใหม่ที่ใส่วัสดุปลูกรองพื้นไว้ และเติมวัสดุปลูกลงไปให้เกือบถึงขอบกระถาง กดวัสดุปลูกให้แน่นแล้วรดน้ำให้ชุ่ม
วิธีการปลูก 1
วิธีการปลูก
     การปลูกไม้กระถางนั้นอีกอย่างหนึ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือ ขนาดของต้นไม้ และกระถางควรให้เหมาะสมกัน ถ้าต้นไม้ยังเล็กอยู่ก็ใช้กระถางเล็กไปก่อน พอต้นไม้โตพอที่จะเปลี่ยนกระถางจึงเปลี่ยนกระถางตานขนาดของต้นไม้ เนื่องจากการปลูกไม้กระถางเป็นไม้ประดับนั้นต้องการความสวยงามเป็นหลักอยู่แล้ว
ถ้าปลูกเพื่อให้เพื่อให้ไม้ในกระถางเป็นไม้ที่โตเร็ว ควรปลูกต้นไม้ต้นเดียวในหนึ่งกระถาง หรือถ้าต้นไม้เป็นทรงพุ่มแตกกิ่งก้านแผ่มากก็ควรปลูกต้นเดียวในหนึ่งกระถางเช่นกัน ส่วนต้นไม้ที่แตกกิ่งก้านน้อยทรงสูง แต่ถ้าต้องการให้เป็นพุ่มเพื่อความสวยงามก็ควรปลูกลงหลายต้นในหนึ่งกระถาง จำนวนต้นแล้วแต่ความเหมาะสมระหว่างต้นไม้กับขนาดของกระถาง ถ้าต้นไม้เป็นไม้ทรงสูงมีลำต้นเดี่ยวตั้งตรงแล้วแตกพุ่มตอนบน ก็ต้องปลูกลงต้นเดียวในหนึ่งกระถาง
วิธีการปลูก 2
วิธีการปลูก
เมื่อเลือกกระถางตามความเหมาะสมกับต้นไม้ที่จะปลูกแล้ว เราเริ่มปลูกตามขั้นตอนดังนี้
     1. เอาเศษอิฐ หรือเศษกระถางแตกอุดที่รูระบายน้ำที่ก้นกระถางเสียก่อน ถ้าจะให้ดีต้องโรยทับด้วยกรวด อิฐมอญทุบ หรือถ่านอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนก็ได้ เพื่อให้ก้นกระถางโปร่ง และระบายน้ำได้ดี
     2. จากนั้นเอาดินหรือเครื่องปลูกที่เตรียมไว้ใส่กระถาง และทำมูลดินเป็นยอดแหลมเท่ากับความลึกของดินที่ปลูก
     3. ก่อนปลูกหากไม้มีรากมากเกินไปควรตัดรากเก่าออกบ้าง เพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างระบบรากใหม่ที่แข็งแรง และแตกแขนงได้มากขึ้น
     4. วางโคนต้นไม้ลงที่ยอดแหลมของมูลดิน และจัดระบบรากให้แผ่ออกรอบด้าน ทิ้งตัวลงตามแนวลาดของมูลดิน
     5.  เติมดินรอบๆ โคนต้นเพียงเล็กน้อยก่อน แล้วกดดินบริเวณรอบๆ โคนต้นเบาๆ เป็นการไล่โพรงอากาศ และเพื่อให้ดินสัมผัสรากพืชได้กระชับขึ้น
     จากนั้นเติมดินและกดเบาๆ จนเกือบเต็มกระถาง ให้ระดับดินอยู่ต่ำกว่าขอบกระถางพอประมาณ พยายามอย่าเติมดินจนเต็มหรือพูนกระถางจนเกินไป เพราะเวลารดน้ำจะทำให้น้ำไหลออกนอกกระถางแทนที่จะซึมลงกระถาง แต่ถ้าเติมดินน้อยเกินไปก็จะทำให้ดินยุบตัวจนเกิดรากลอย หรือทำให้บริเวณโคนต้นชื้นเกินไป เป็นสาเหตุให้เกิดโรคราได้ง่ายขึ้น
การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชและการกำจัดแมลงศัตรูพืช
การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชและการกำจัดแมลงศัตรูพืช

     การป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูเป็นความจำเป็นอีกอย่างหนึ่งในการดูแลรักษาไม้กระถาง เพราะแมลงเป็นศัตรูต่อการเจริญเติบโตของพืช ที่พบมากมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
     1. ประเภทปากกัด ได้แก่ ตั๊กแตน หนอนผีเสื้อ ด้วง ฯลฯ ทำลายโดยกัดกินใบ ทำให้ต้นไม้ไม้สามารถปรุงอาหารได้ และชะงักการเจริญเติบโต แมลงปากกัดบางชนิดกัดแทะเข้าไปถึงกิ่งก้านหรือลำต้น ทำให้ท่อน้ำท่ออาหารของต้นไม้เสียหาย ถ้าถูกทำลายมากต้นไม้จะเหี่ยวและตายในที่สุด วิธีกำจัดโดยการใช้ยาประเภทถูกตัวตายหรือกินตายฉีดพ่น หากพบจำนวนไม่มากให้จับทำลาย
     2. ประเภทดูดน้ำเลี้ยง ได้แก่ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน แมงมุมแดง เพลี้ยหอย ฯลฯ ทำลายโดยดูดน้ำเลี้ยงจากใบ แมลงปากดูดบางชนิดยังปล่อยสารพิษให้ต้นไม้ใบสีซีดเหี่ยวแห้ง ใบร่วงก่อนกำหนด ชะงักการเจริญเติบโต และแห้งตายในที่สุด วิธีกำจัดโดยการฉีดยาประเภทถูกตัวตาย
เนื่องจากการปลูกไม้กระถางประดับเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ชิดกับคน หากสามารถหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศตรูพืชได้มากเท่าไรหรือไม่ใช้เลยยิ่งดี โดยเฉพาะไม้กระถางที่ใช้ประดับในอาคารบ้านเรือน หากจำเป็นต้องใช้ยากำจัดแมลงควรกระทำอยู่ภายนอกอาคารและหลีกเลี่ยงยาที่มีอันตรายมากๆ มีฤทธิ์ตกค้างนานและมีกลิ่นรุนแรง ก่อนนำพรรณไม้เข้าประดับในอาคารควรงดฉีดยา หรือทิ้งไว้จนหมดกลิ่นและฤทธิ์เสียก่อน สิ่งสำคัญควรเลือกใช้ยาให้ถูกต้องกับแมลงที่ต้องการกำจัด แล้วนำมาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพราะโดยทั่วไปยาฆ่าแมลงมีอันตรายต่อคนอยู่แล้วไม่มากก็น้อย ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีอันตรายก็ยิ่งมากขึ้น
การกำจัดโรคพืช
การกำจัดโรคพืช
     โรคพืชที่พบบ่อยในไม้กระถางได้แก่  โรคโคนเน่า  ลักษณะอาการแสดงออกที่บริเวณโคนต้นระดับผิวดินจะเน่าและต้นจะล้มตายในที่สุด ทางป้องกันหรือลดความเสียหายทำได้โดยการกำจัดวัชพืชและตัดแต่ง ช่วยให้โคนต้นโปร่งมีการระบายอากาศ แสงแดดส่องได้ทั่วถึง  และพยายามรดน้ำให้น้อยลง รักษาผิวหน้าดินอย่าให้ชื้นแฉะเกินไป
การกำจัดวัชพีช
การกำจัดวัชพืช
     วัชพืชหรือหญ้าต่างๆ ที่ขึ้นอยู่ในเครื่องปลูกจะเป็นตัวแย่งอาหารจากต้นไม้ ทำให้ต้นไม้ไม่สวย และยังเป็นที่อยู่อาศัยหรือแหล่งสะสมของโรคแมลงบางชนิดด้วย การกำจัดวัชพืชควรทำในขณะที่วัชพืชยังเป็นต้นอ่อนยังไม่ออกดอกติดเมล็ด เพราะเมล็ดแก่อาจหล่นลงในเครื่องปลูกงอกเป็นต้นอ่อนได้ ทำให้ต้องเสียเวลาในการกำจัดต่อไปอีก วิธีการกำจัดวัชพืชอาจใช้วิธีถอนด้วยมือ แซะหรือขุดด้วย พลั่วมือ เสียม หรือจอบ โดยพรวนดินร่วมไปด้วย
การให้น้ำ
การให้น้ำ
     ปกติการให้น้ำต้นไม้เป็นสิ่งสำคัญ เพราะการให้น้ำมากเกินไป น้อยเกินไป หรือให้น้ำไม่ถูกวิธีสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชเหมือนกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับ ชนิดของพรรณพืช สภาพของดิน หรือเครื่องปลูก สภาพแวดล้อม เช่น ในร่ม กลางแจ้ง มีลมพัดผ่านหรือไม่ อุณหภูมิ และฤดูกาล เป็นต้น
ถ้าพืชได้รับน้ำน้อยเกินไปจะทำให้ใบเหี่ยว เนื่องจากน้ำในดินมีไม่พอให้รากดูดไปเลี้ยงลำต้น ช่วงเวลาใกล้เที่ยงถึงบ่าย 3 โมงเย็น เป็นช่วงที่อากาศร้อนจัดพืชจะคายน้ำมาก เมื่อคายน้ำมากแล้วรากต้องดูดน้ำมาชดเชยให้กับใบที่เสียน้ำไปกับอากาศ ถ้าชดเชยไม่ทันก็จะทำให้ใบเหี่ยว
     ถ้าน้ำมากจนเต็มช่องว่างทั้งหมดของดิน และไล่อากาศออกทำให้ดินอิ่มตัวจนเกิดน้ำขัง ก็จะไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืช เพราะจำทำให้พืชขาดออกซิเจน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการหายใจของราก เราเรียกความชื้นในดินระดับนี้ว่าระดับ Superfluous ถ้าดินมีน้ำขังเพียง 2–3 วัน พืชจะมีอาการเหี่ยวทั้งๆ ที่ไม่ขาดน้ำบางชนิดอาจตายได้ แต่ในทางกลับกันถ้าพืชได้รับน้ำน้อยเกินไปต้นก็เหี่ยวเหมือนกัน วิธีการให้น้ำไม้กระถาง
          1. ควรรดน้ำที่โคนต้น อย่าใช้วิธีฉีดทั้งใบ เพราะจะทำให้พุ่มและใบกระจ่ายล้มได้ และทำให้น้ำกระจายออกนอกกระถาง ทำให้น้ำไม่ถึงระดับราก
          2. ถ้าดินแห้งหดตัวหนีขอบกระถาง ทำให้น้ำไหลลงรูที่ก้นกระถางหมด และไม่ชุ่มถึงระดับราก ควรพรวนดินให้ฟูก่อนแล้งค่อนรดน้ำให้ชุ่ม
          3.  ควรใช้น้ำที่ไม่แรง รดช้าๆ จนชุ่ม ไม่ควรฉีดน้ำแรงมาก เพราะจะทำให้น้ำชะหน้าดินออกจากกระถางทำให้รากลอย และแห้งได้
     การรดน้ำที่ดีควรรดน้ำแล้วปล่อยให้ใบแห้งก่อนค่ำ เพื่อป้องกันการเกิดโรคในขณะที่ใบพืชชื้น ควรพิจารณาตามฤดูกาล และความชื้นของดิน
     ไม้กระถางในร่ม ต้องการแสงน้อย เนื่องจากการคายน้ำ การหายใจ การดูดธาตุอาหาร น้อยกว่าไม้กลางแจ้ง การให้น้ำต้องสังเกตความต้องการน้ำของพืชด้วย เช่น สัมผัสดินปลูก ความสดใสของใบ ในขณะที่อากาศแห้ง ถ้าอากาศชื้น-เย็น ควรให้น้ำวันเว้นวัน หรือสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
ไม้กระถางที่มีใบใหญ่ จำนวนใบมาก ใบและต้นมีลักษณะอวบน้ำ จะต้องการน้ำมากกว่าไม้ใบเล็ก หรือจำนวนใบน้อย ความต้องการน้ำแตกต่างกันตามชนิดของพรรณไม้ ไม้กระถางอายุยืน พุ่มใหญ่ ระบบรากสมบูรณ์ จะต้องการน้ำมากว่าไม้กระถางขนาดเล็ก อายุน้อย หรือระบบรากยังไม่เจริญเต็มที่ และความชื้นของดินมีผลมาจากส่วนผสมของดินปลูกที่แตกต่างกัน ดินที่มีส่วนผสมของอินทรีวัตถุ ปุ๋ยคอกและวัสดุอื่น เช่น อิฐมอญทุบ ทราย จะอุ้มน้ำได้ดีกว่าดินร่วนธรรมดา ดินเหนียวระบายน้ำและอากาศได้ไม่ดี ดินแน่นแข็งตัวง่าย ทำให้ระบบรากเจริญเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร
     ชนิดของกระถางมีส่วนสำคัญในการให้น้ำด้วยเช่นกัน เช่น กระถางดินเผามีรูพรุนทำให้การระเหยน้ำได้ง่าย ทำให้เครื่องปลูกแห้งเร็วกว่ากระถางพลาสติก แก้ว หรือโลหะ ดังนั้นไม้ที่ปลูกในกระถางดินเผาจึงควรให้น้ำบ่อยกว่ากระถางชนิดอื่น
     สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับ แสง อุณหภูมิ ความชื้นและลม สิ่งเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับการให้น้ำด้วย เพราะมีส่วนทำให้พืชสูญเสียน้ำจากต้นด้วยการคายน้ำกับระเหยไปจากเครื่องปลูกด้วยเช่นกัน
ชนิดของพรรณไม้ที่ต่างกันความต้องการน้ำมากน้อยก็แตกต่างกันไปด้วย ดังนั้นจึงมีข้อสังเกตบางประการที่พอจะบอกให้ทราบเกี่ยวกับการให้น้ำแก่พืช
โดยดูจากสิ่งต่างๆ ดังนี้
     1. คุ้ยผิวดินในระดับความความลึกประมาณครึ่งนิ้ว หากดินแห้งก็ควรให้น้ำได้แล้ว
     2. สังเกตดูจากสีของผิวดินหน้ากระถาง ถ้าสีของดินจางลงมาก หน้าดินดูแห้งก็ควรให้น้ำได้แล้ว แต่ถ้าสีของดินยังค่อนข้างทึบแสดงว่าดินยังมีความชื้นอยู่ก็ไม่จำเป็นต้องให้น้ำขณะนั้น
     3 ดินในกระเริ่มหดตัวแยกออกจากขอบกระถางแสดงว่าดินแห้ง แต่ลักษณะนี้จะเห็นได้ชัดว่าเครื่องปลูกนี้มีส่วนผสมของดินเหนียวอยู่มาก วิธีแก้จึงควรพรวนดินให้ฟูก่อนรดน้ำ เพื่อให้ดินโปร่งและซับน้ำได้ดีขึ้น
ควรศึกษาและสังเกตนิสัยความต้องการน้ำของพืช เพราะแต่ละสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน แม้จะเป็นพืชชนิดเดียวกัน ก็อาจจะต้องการที่แตกต่างกัน
การให้ปุ๋ย
การให้ปุ๋ย
     การใส่ปุ๋ยให้แก่ไม้กระถางควรพิจารณาถึงความอุดมสมบูรณ์ของเครื่องปลูกเป็นหลัก เครื่องปลูกที่มีดินร่วน ใบไม้ผุ และปุ๋ยคอกผสมอยู่ในปริมาณมาก อาจไม่ต้องให้ปุ๋ยเพิ่ม หรืออาจให้บ้างในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนเครื่องปลูกที่มีใบไม้ผุ และปุ๋ยคอกผสมอยู่ในปริมาณน้อยหรือไม่มีเลยก็ควรใส่ปุ๋ยเพิ่มให้เพียงพอต่อความต้องการของพืช
     โดยทั่วไปการใส่ปุ๋ยให้แก่ไม้ประดับกระถางมักใช้ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ยูเรีย (46-0-0) ช่วยเร่งการเจริญเติบโต โดยใส่หลังจากปลูกประมาณ 3–7 วัน และครั้งต่อไปใส่สัปดาห์ละครั้ง เพื่อเร่งให้ต้นไม้สร้างใบ แตกยอด กิ่งก้านได้ดีขึ้น เมื่อให้ปุ๋ยทุกครั้งควรรดน้ำตามเสมอเพราะน้ำจะเป็นตัวละลายให้พืชดูดน้ำไปใช้ได้สะดวก วิธีให้ปุ๋ยยูเรีย อาจจะใช้วิธีหว่านแล้วรดน้ำตามไป หรือละลายปุ๋ยในน้ำแล้วรดก็ได้
การให้ปุ๋ยไม้กระถางประดับในอาคารควรใส่ปุ๋ยเพียงเล็กน้อย ไม่ควรใส่มากเหมือนไม้กลางแจ้ง เนื่องจากภายในอาคารไม่เหมือนกับสภาพธรรมชาติปกติ จะทำให้พืชยืดลำต้นเร็ว และอ่อนแอไม่ทนต่อโรคแมลง ช่วงการใส่ปุ๋ย ควรใส่ระยะที่นำไม้ออกมาพักฟื้นภายนอกอาคาร ปุ๋ยที่ใช้อาจเป็นปุ๋ยเม็ดสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 โดยใส่ทางดิน ร่วมกับการใช้ปุ๋ยน้ำสูตรไนโตรเจนสูง เช่น 21-13-13 เสริมไปด้วยโดยการฉีดพ่นทางใบสัปดาห์ละครั้ง เมื่อเห็นว่าต้นไม้เริ่มฟื้นตัวดีขึ้นควรงดปุ๋ยทางใบให้เฉพาะปุ๋ยเม็ดทางดินอย่างเดียว โดยให้ปุ๋ยเคมีทุกๆ 3 เดือน ครั้งละ 1–2 ช้อนชาสำหรับไม้กระถางขนาด 8–12 นิ้ว โดยโรยรอบๆ กระถาง หรือฝังกลบ 2–3 จุด ชิดขอบกระถางปลูก รดน้ำให้ชุ่ม ไม้กระถางในร่มควรให้ปุ๋ยเคมีได้ในช่วงระยะเวลาที่พักไม้หลังจากใช้งานแล้ว ไม่ควรให้ปุ๋ยในระหว่างการตั้งประดับหรือระหว่างการใช้งาน
พรรณไม้ที่นิยมปลูกในกระถาง
พรรณไม้ที่นิยมปลูกในกระถาง
     พรรณไม้ที่ใช้เป็นไม้กระถางได้ดีส่วนใหญ่เป็นพรรณไม้ที่ไม่มีรากแก้ว นอกจากจะนำมาตัดรากแก้วออกทำเป็นไม้แคระ การแบ่งกลุ่มของไม้กระถางอย่างกว้างๆ ตามลักษณะความต้องการแสงของต้นไม้ 


Share it:

เกษตรพืช

Post A Comment:

0 comments: